ผนึกกำลัง 4 หน่วยงาน ร่วมกับ GIZ มอบทุนให้เปล่าภายใต้กองทุน ThaiCI นำร่องสนับสนุนโรงแรมและที่พักหัวใจสีเขียว ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ผนึกกำลัง 4 หน่วยงาน ร่วมกับ GIZ
มอบทุนให้เปล่าภายใต้กองทุน ThaiCI
นำร่องสนับสนุนโรงแรมและที่พักหัวใจสีเขียว
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
นายประเสริฐ ศิรินภาพร เลขาธิการ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กล่าวว่า ตามที่ สผ. ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจและการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Ministry for Economic Affairs and Climate Action: BMWK) ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ในการจัดตั้ง “กองทุน Thai Climate Initiative Fund (ThaiCI)” ขึ้นภายใต้การดำเนินการของกองทุนสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการสนับสนุนเงินทุนแบบให้เปล่า (Seed funding) สำหรับโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ทั้งโครงการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นการนำร่องการดำเนินงานในกลุ่มผู้ประกอบการ SME สผ. โดยกองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมกับ ททท. สสว. และ สนช. ในการขับเคลื่อนกลไกทางการเงินผ่านกองทุน ThaiCI เพื่อสนับสนุนนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่การสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยจัดให้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากบริการของธุรกิจโรงแรมและที่พัก ภายใต้กองทุน ThaiCI ในวันนี้ ทั้งนี้ สผ. จะทำหน้าที่เปิดรับข้อเสนอโครงการดังกล่าว จากผู้ประกอบการ SME พร้อมทั้งพิจารณาคัดเลือกผู้ประกอบการนำเสนอคณะกรรมการกองทุนสิ่งแวดล้อมอนุมัติการสนับสนุนเงินทุนวงเงินสูงสุด 2.5 ล้านบาท/ราย โดยนำร่อง ในกลุ่มธุรกิจโรงแรม และที่พัก ขณะที่หน่วยงานภาคี จะร่วมกันสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ พร้อมจับคู่ธุรกิจเพื่อต่อยอดและสร้างประโยชน์ต่อการดำเนินงาน รวมทั้งร่วมประชาสัมพันธ์โครงการไปสู่ผู้ประกอบการ SME ในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและที่พักขนาดกลางและขนาดเล็ก ให้ร่วมนำส่งข้อเสนอโครงการ รวมทั้งร่วมติดตามและประเมินผลโครงการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด
นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวเสริมว่า จากการที่ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงการท่องเที่ยวที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากยิ่งขึ้น ททท. ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ ในการขยายฐานตลาดคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินงานในครั้งนี้ ด้วยการนำแพลตฟอร์ม CF-Hotels ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ Shape Supply ของ ททท. มาเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและติดตามผลการดำเนินงานตามเป้าหมายของ SME กลุ่มธุรกิจโรงแรมและที่พักที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ThaiCI ซึ่งโครงการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฯ จะไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ และสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในสายตานักท่องเที่ยวทั่วโลกอีกด้วย
นางสาวปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า สสว. มีภารกิจหลักในการเป็นหน่วยงานกลางที่กำหนดนโยบายด้านการส่งเสริม SME ของประเทศ รวมถึงบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับและพัฒนาศักยภาพ SME ให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนถือเป็นประเด็นที่ สสว. ได้ให้ความสำคัญ โดยกำหนดให้เป็นหนึ่งในโจทย์หลักของแผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 5 และแผนปฏิบัติการส่งเสริม SME ประจำปี นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา เพื่อให้ SME มีแนวทางการปรับตัวให้ทันกับกระแสเศรษฐกิจโลกที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจด้านการท่องเที่ยวอย่างธุรกิจโรงแรมและที่พัก จากตัวเลขของ สสว. ในปี 2566 พบว่า SME กลุ่มธุรกิจโรงแรมหรือที่พัก มีจำนวนรวมกว่า 41,825 ราย ทั่วประเทศ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะช่วยสร้างโอกาสในการขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้มากขึ้น สำหรับความร่วมมือ 4 ฝ่ายในครั้งนี้ สสว. จะนำมาตรการส่งเสริม SME มาเชื่อมต่อและสนับสนุนให้ SME ที่ต้องการขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน ThaiCI ได้รับการพัฒนาศักยภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกองทุน ThaiCI ให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การสนับสนุนที่ปรึกษาผ่านระบบ SME Coach และ โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (Business Development Service) ซึ่งจะอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาให้แก่ SME แบบร่วมจ่าย (co-payment) ในสัดส่วนร้อยละ 50–80 ตามขนาดของธุรกิจ ทั้งนี้ SME ที่ต้องการรับการสนับสนุนจากกองทุน ThaiCI สามารถยืนยันความเป็นผู้ประกอบการได้ที่ https://oneid.sme.go.th/ หรือผ่านแอปพลิเคชัน SME Connext
นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวเสริมว่า จากการที่ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมรวมถึงการท่องเที่ยวที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากยิ่งขึ้น ททท. ในฐานะหน่วยงานส่งเสริมการตลาดและประชาสัมพันธ์ ในการขยายฐานตลาดคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว จึงได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินงานในครั้งนี้ ด้วยการนำแพลตฟอร์ม CF-Hotels ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการ Shape Supply ของ ททท. มาเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและติดตามผลการดำเนินงานตามเป้าหมายของ SME กลุ่มธุรกิจโรงแรมและที่พักที่ขอรับการสนับสนุนจากกองทุน ThaiCI ซึ่งโครงการด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกฯ จะไม่เพียงแต่ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ และสร้างความเชื่อมั่นและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในสายตานักท่องเที่ยวทั่วโลกอีกด้วย
นางสาวปณิตา ชินวัตร รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า สสว. มีภารกิจหลักในการเป็นหน่วยงานกลางที่กำหนดนโยบายด้านการส่งเสริม SME ของประเทศ รวมถึงบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อยกระดับและพัฒนาศักยภาพ SME ให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ในระดับสากล ทั้งนี้ การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนถือเป็นประเด็นที่ สสว. ได้ให้ความสำคัญ โดยกำหนดให้เป็นหนึ่งในโจทย์หลักของแผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 5 และแผนปฏิบัติการส่งเสริม SME ประจำปี นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นมา เพื่อให้ SME มีแนวทางการปรับตัวให้ทันกับกระแสเศรษฐกิจโลกที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจด้านการท่องเที่ยวอย่างธุรกิจโรงแรมและที่พัก จากตัวเลขของ สสว. ในปี 2566 พบว่า SME กลุ่มธุรกิจโรงแรมหรือที่พัก มีจำนวนรวมกว่า 41,825 ราย ทั่วประเทศ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จะช่วยสร้างโอกาสในการขยายตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ ได้มากขึ้น สำหรับความร่วมมือ 4 ฝ่ายในครั้งนี้ สสว. จะนำมาตรการส่งเสริม SME มาเชื่อมต่อและสนับสนุนให้ SME ที่ต้องการขอรับทุนสนับสนุนจากกองทุน ThaiCI ได้รับการพัฒนาศักยภาพ และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของกองทุน ThaiCI ให้ประสบความสำเร็จ ได้แก่ การสนับสนุนที่ปรึกษาผ่านระบบ SME Coach และ โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการผ่านระบบ BDS (Business Development Service) ซึ่งจะอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการพัฒนาให้แก่ SME แบบร่วมจ่าย (co-payment) ในสัดส่วนร้อยละ 50–80 ตามขนาดของธุรกิจ ทั้งนี้ SME ที่ต้องการรับการสนับสนุนจากกองทุน ThaiCI สามารถยืนยันความเป็นผู้ประกอบการได้ที่ https://oneid.sme.go.th/ หรือผ่านแอปพลิเคชัน SME Connext
นางสาวกริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) เปิดเผยว่า สนช. มีกลยุทธ์การขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ชาตินวัตกรรม “NIA Focal Conductor: Leading Thailand to Innovation Nation” ภายใต้แนวคิด Groom - Grant – Growth - Global เพื่อสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการนวัตกรรมไทยสามารถเติบโตสู่การขยายผลด้านการลงทุนทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นกลุ่มพลังงาน ยานยนต์ไฟฟ้า สิ่งแวดล้อม ให้เป็นหนึ่งใน 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่ส่งเสริมและให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น สนช. จึงพร้อมสนับสนุนผู้ประกอบการสตาร์ทอัพที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับบริการของธุรกิจโรงแรมและที่พัก โดยนำเสนอ 8 เทคโนโลยีและนวัตกรรมฝีมือคนไทย ที่มีศักยภาพและพร้อมจับคู่ธุรกิจ เพื่อช่วย SME กลุ่มธุรกิจโรงแรมให้สามารถประหยัดค่าไฟฟ้า ประหยัดพลังงาน และใช้พลังงานสะอาดได้อย่างคุ้มค่า ได้แก่
1) Alto CERO : แพลตฟอร์ม วิเคราะห์ ตรวจสอบ และจัดการการใช้พลังงานภายในโรงแรมด้วย AI, IoT, Big Data และ Human Centric Technologies โดยบริษัท อัลโต้เทค โกลบอล จำกัด
2) EQ Tech Energy : ระบบกักเก็บและบริหารพลังงานไฟฟ้าสะอาดแบบครบวงจร โดยบริษัท อีคิว เทค เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด
3) GreenGen Digester : ระบบจัดการขยะอาหาร ที่ใช้จุลินทรีย์แบบไม่ใช้อากาศ เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับหุงต้ม และสารบำรุงพืชสำหรับการเพาะปลูก โดยบริษัท กรีนเจน ไบโอเทคโนโลยี จำกัด
4) BioCircuit : ระบบบำบัดน้ำเสียวงจรไฟฟ้าชีวภาพ โดยบริษัท อินโน กรีน เทค จำกัด
5) GEMS (Green Energy Management System) : ระบบบริหารจัดการพลังงานสีเขียว โดยบริษัท เอ็นดีอาร์ โซลูชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
6) PAC Regeneration Energy : ระบบทำน้ำร้อนจากระบบปรับอากาศและระบบฮีทปั๊มพร้อมระบบควบคุมอัตโนมัติเพื่อการประหยัดพลังงงานและลด Carbon Emission โดยบริษัท แพค คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด
7) ThaiHandAI : ระบบตรวจสอบเครื่องปรับอากาศเเบบเเยกส่วนเพื่อประหยัดพลังงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยบริษัท ไทยเเฮนด์ เอ.ไอ. จำกัด
8) TIE SMART SOLUTIONS : แพลตฟอร์มอัจฉริยะเพื่อการวินิจฉัยการสิ้นเปลืองพลังงานและฟื้นฟูแบบอัตโนมัติ โดยบริษัท ทีไออี สมาร์ท โซลูชั่น จำกัด
อย่างไรก็ดี สำหรับการดำเนินงานตามบันทึกความร่วมมือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากบริการของธุรกิจโรงแรม และที่พัก ภายใต้กองทุน ThaiCI ของทั้ง 4 หน่วยงานนี้ มีระยะเวลาดำเนินการร่วมกัน 2 ปี และถือเป็นจุดเริ่มต้นของการส่งเสริมการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของประเทศในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 และสามารถปรับตัวและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ในอนาคต
No comments