หัวเว่ยจับมือจุฬา ยกระดับความร่วมมือด้าน
นวัตกรรม 5.5 G และพัฒนาบุคลากรรองรับคลาวด์
กรุงเทพฯ, 16 สิงหาคม 2567 – ในงาน Asia-Pacific ICT Summit -Thailand หัวเว่ย ประเทศไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันประกาศขยายความร่วมมือโดยเน้นด้านนวัตกรรม 5.5G และพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถเพื่อรองรับเทคโนโลยีคลาวด์ ภายใต้โครงการ Ignite Cloud Talent Program โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการร่วมมือให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และตอบสนองเป้าหมายของประเทศไทยที่จะเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมดิจิทัลในขอบเขตที่กว้างกว่าเดิม
การร่วมมือดังกล่าวนี้ เป็นกลยุทธ์ในการนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นแถวหน้าในด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของโลก จากการที่โลกได้ก้าวสู่การเป็นยุคแห่งดิจิทัล เทคโนโลยี 5.5G และคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) นับเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ นวัตกรรม และความสามารถในการแข่งขัน การร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและจุฬาฯ จะช่วยนำจุดแข็งของทั้งสองฝ่าย คือการเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีอันล้ำสมัยและมีประสบการณ์ระดับโลกของหัวเว่ย ผสานกับการเป็นเลิศด้านวิชาการและความสามารถทางการวิจัยของจุฬาฯ มาช่วยยกระดับและสนับสนุนความต้องการของประเทศไทยในการที่จะก้าวไปสู่การเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในระดับภูมิภาค ด้วยการส่งเสริมนวัตกรรมในจุดหลัก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างระบบนิเวศที่เอื้ออำนวยต่อการเสริมสร้างทรัพยากรบุคคลที่มีความสามารถ และการกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ล้วนส่งผลให้เกิดสังคมที่มีความเป็นอัจฉริยะและเป็นแนวทางดิจิทัลมากขึ้น
รองศาสตราจารย์ ดร. วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ความร่วมมือกับหัวเว่ย นับเป็นขั้นตอนสำคัญในภารกิจที่จะทำให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้าน Technology Landscape ความร่วมมือนี้ไม่ใช่เพียงเพื่อเท่าทันการพัฒนาด้านเทคโนโลยีล่าสุดเท่านั้น แต่เป็นการมุ่งมั่นสร้างอนาคตของประเทศไทยในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ด้วยการนำความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่ายมารวมกัน เราได้เสริมสร้างนวัตกรรมทางด้าน 5.5G และเทคโนโลยีคลาวด์ อีกทั้งยังส่งเสริมคนรุ่นถัดไปให้มีความสามารถด้านคลาวด์ พร้อมที่จะขับเคลื่อนให้ประเทศไทยก้าวไปสู่โลกดิจิทัลในอนาคต จุฬาฯ มีความตื่นเต้นที่จะได้เห็นความร่วมมือนี้เปิดกว้างสำหรับทั้งนิสิตของเราและอุตสาหกรรมโดยรวม”
การร่วมมือนี้ได้เน้นสองส่วน คือ นวัตกรรมด้าน 5.5G และการพัฒนาผู้มีความสามารถด้านคลาวด์ โดยในด้าน 5.5G ความร่วมมือจะเน้นศึกษาศักยภาพในการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีแห่งอนาคตเพื่อปฏิวัติเครือข่ายการสื่อสารของประเทศไทย โดยให้บริการที่เชื่อมต่อฉับไวและเชื่อมั่นได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานหลักของเศรษฐกิจดิจิทัล
ในส่วนของโครงการ Ignite Cloud Talent Program จะครอบคลุมถึงการพัฒนาร่วมกันด้านเนื้อหาการเรียนการสอนด้านคลาวด์ การแข่งขันผู้พัฒนาคลาวด์ และการส่งเสริมศูนย์กลางนวัตกรรมเพื่อให้การสนับสนุนสตาร์ทอัพ โดยศูนย์ฯ นี้จะเป็นแพลท์ฟอร์มสำคัญที่จะเสริมสร้างนวัตกรรมของประเทศและความเป็นผู้ประกอบการ ผนวกกับทีมคนไทยที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคตและทักษะความรู้ที่ต้องมี เพื่อนำพาประเทศไทยให้มีความพร้อมที่จะก้าวหน้ารุ่งเรืองในโลกที่มุ่งไปสู่การเป็นดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ
หัวเว่ยและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นความร่วมมือแรก ๆ ที่ประสานด้านวิชาการเข้ากับด้านธุรกิจและดำเนินต่อมาอย่างแน่นแฟ้นร่วมทศวรรษ โดยได้มีผลงานความสำเร็จมากมายไม่ว่าจะเป็นในด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่าย เทคโนโลยีคลาวด์ และโซลูชั่นด้านพลังงานสีเขียว ช่วยขับเคลื่อนให้ไทยมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นที่ประจักษ์ ทั้งนี้ ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายยังได้กระชับความสัมพันธ์โดยร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ด้านการเปลี่ยนผ่านและพัฒนาผู้มีความสามารถด้านดิจิทัลเพิ่มเติมอีกด้วย
การริเริ่มโครงการเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการดำเนินงานตามข้อตกลงดังกล่าว ที่มีวิสัยทัศน์ร่วมในการที่จะกระตุ้นให้เกิดการเร่งตัวทางการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมดิจิทัลและตอกย้ำจุดยืนของการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจดิจิทัลของ
ประเทศไทย
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย คือผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยหัวเว่ยมีพนักงานกว่า 207,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ให้บริการผู้คนมากกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก
วิสัยทัศน์และพันธกิจของหัวเว่ยคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อวางรากฐานให้แก่โลกอัจฉริยะ หัวเว่ยได้ส่งมอบการประมวลผลคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบทุกที่ ทุกเวลาที่คุณต้องการ เพื่อนำเทคโนโลยีคลาวด์และความอัจฉริยะเข้าสู่ทั่วทุกมุมโลก สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่จะช่วยทุกภาคอุตสาหกรรม ทุกองค์กร ให้มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และมีพลวัตร รวมทั้งสร้างนิยามใหม่ให้แก่ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ด้วย AI เพื่อเสริมสร้างความชาญฉลาดและออกแบบให้ตอบรับกับความต้องการเฉพาะของผู้คนในทุกแง่มุมของชีวิต ทั้งการใช้ชีวิตที่บ้าน ระหว่างการเดินทาง ที่ออฟฟิศ ในการสันทนาการ หรือแม้แต่ระหว่างการออกกำลังกาย
No comments