Home
/
สังคมทั่วไป
/
เลี้ยงไก่ไข่เป็นอาหารกลางวัน “รร.บ้านนาคำ นครพนม” สอนนักเรียนร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารในโรงเรียน สู่คลังอาหารชุมชน
เลี้ยงไก่ไข่เป็นอาหารกลางวัน “รร.บ้านนาคำ นครพนม” สอนนักเรียนร่วมสร้างความมั่นคงทางอาหารในโรงเรียน สู่คลังอาหารชุมชน
เลี้ยงไก่ไข่เป็นอาหารกลางวัน “รร.บ้านนาคำ
นครพนม”
สอนนักเรียนร่วมสร้างความมั่ นคงทางอาหารใน
โรงเรียน สู่คลังอาหารชุมชน
หลังจากรับมอบ “โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ ออาหารกลางวันนักเรียน” ที่เครือซีพี บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิ ตชนบท และ หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ หรือ JCC ร่วมกันดำเนินการแล้ว โรงเรียนบ้านนาคำ ต.บ้านค้อ อ.โพนสวรรค์ จ.นครพนม ได้เริ่มต้นโครงการฯนี้อย่างตั้ งแต่ปี 2566 และสามารถสร้างผลผลิตไข่ไก่ จากแม่ไก่ที่พวกเขาดูแลด้วยตั วเอง เป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรั บอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนทุ กคน
นางวิภาวณี บุญศรี ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านนาคำ กล่าวถึงที่มาของการร่ วมโครงการฯ ว่า จากการที่หลายโรงเรี ยนในเขตอำเภอโพนสวรรค์ ได้เข้าร่วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ ฯ ที่เครือซีพี ซีพีเอฟ และมูลนิธิฯ ให้การสนับสนุนและส่งเสริ มภาวะโภชนาการที่ดีแก่นักเรี ยนอยู่แล้ว โรงเรียนบ้านนาคำจึงขอรับการสนั บสนุนโครงการฯนี้ หลังจากได้รับการพิจารณาให้เข้ าร่วมโครงการฯแล้ว ก็ทำให้นักเรียนได้บริโภคไข่ไก่ ที่มีโปรตีนคุณภาพดี ได้มีโอกาสฝึกอาชีพเลี้ยงไก่ไข่ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
“โรงเรียนบ้านนาคำ เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีนักเรียน 104 คน เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุ บาล 2 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 เราตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเลี้ ยงไก่ไข่ฯ เพื่อให้นักเรียนได้บริโภคไข่ ไก่เป็นอาหารกลางวัน โดยกำหนดให้มีเมนูไข่ อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ขณะเดียวกัน โรงเรือนไก่ไข่ยังเป็นห้องเรี ยนอาชีพ เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรี ยนให้กับนักเรียนได้ลงมือปฏิบั ติจริง และซีพีเอฟยังส่งเสริมการจ้ างงานแก่คนพิการในหมู่บ้านก็ ทำให้มีงานทำ มีรายได้ดูแลครอบครัว โดยมีชาวชุมชนทุกคนเป็นลูกค้าผู้ สนับสนุนซื้อผลผลิตไข่ไก่จากฝี มือการเลี้ยงของลู กหลานของพวกเขาเอง” ผอ.วิภาวณี กล่าว
ด.ช.วีรภัทร ตงกะพษ์ หรือน้องติว นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เล่าว่า ปัจจุบันมีนักเรียนผู้ดู
ทางด้าน ด.ญ. ดาริกา มันอาษา หรือน้องน้ำแข็ง นักเรียนชั้นเดียวกัน บอกว่า การดูแลไก่ไข่นั้นไม่ยุ่ งยากในแต่ละวัน มีนักเรียนรับผิดชอบวันละ 5 คน แบ่งงานเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงก่อนเข้าแถวเคารพธงชาติ ในตอนเช้า จะเข้าทำความสะอาดโรงเรือน ที่น้ำ และรางอาหาร รวมถึงให้อาหารรอบแรก 1 จากนั้นช่วงเที่ยง เป็นกิจกรรมเก็บไข่ไก่ คัดไข่ ลงบันทึกปริมาณ และนำส่งสหกรณ์โรงเรียน สุดท้ายช่วงบ่ายโมงเป็นการให้ อาหารไก่ครั้งที่ 2 นอกจากนี้ มูลไก่ที่จัดการด้ วยการนำออกไปตากแดดทุกๆ 3วัน ยังสร้างรายได้ให้ถึงกิโลละ 5 บาท
สำหรับขั้นตอนการเข้าร่ วมโครงการฯ ผอ.วิภาวณี อธิบายว่า เริ่มจากการสมัครผ่านทางเว็ บไซต์ของมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พั ฒนาชีวิตชนบท เมื่อได้รับการตรวจสอบและผ่านคุ ณสมบัติตามที่กำหนดแล้ว คณะกรรมการจากมูลนิธิฯ และซีพีเอฟ จึงเข้ามาดูพื้นที่ว่าเหมาะสมกั บการเลี้ยงไก่ไข่หรือไม่ พร้อมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู และบุคลากร เพื่อขอความเห็นชอบในการเลี้ ยงไก่ไข่ เมื่อผ่านขบวนการทั้งหมดแล้วจึ งเริ่มต้นการเลี้ยงไก่ไข่ โดยโครงการสนับสนุนการก่อสร้ างโรงเรือนและติดตั้งอุปกรณ์เลี้ ยงไก่ไข่ พันธุ์ไก่ไข่ และอาหารไก่ไข่ฟรี เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีซีพีเอฟสนับสนุนงบประมาณ และยังส่งนักสัตวบาลเข้ามาสนั บสนุนด้านวิชาการตั้งแต่เริ่มต้ นเลี้ยงจนถึงปลดแม่ไก่ พร้อมทั้งแนะนำการจัดการผลผลิ ตไข่ไก่สด การจำหน่าย และการบริหารจัดการด้านตลาด ทำให้โครงการฯ สามารถบริหารรายได้เป็นเงิ นกองทุน ส่งต่อให้กับรุ่นต่อไปอย่างต่ อเนื่อง เพื่อให้โรงเรียนพึ่งพาตนเองได้ อย่างยั่งยืน
“ปัจจุบันโรงเรียนของเราไม่มีต้ นทุนในการเลี้ยงไก่ไข่ เนื่องจากได้รับอาหารไก่ไข่ จากโครงการฯเป็นเวลา 1 ปี จึงสามารถเก็บเงินที่จำหน่ายไข่ ไก่ไว้สำหรับต่อยอดโครงการฯในปี ต่อๆ ไปได้ ทั้งครูและนักเรียนต่างดีใจที่ รับคัดเลือกให้เข้าร่ วมโครงการเลี้ยงไก่ไข่ฯ ทุกคนรู้สึกภูมิใจมาก ที่โรงเรียนขนาดเล็ กของเราสามารถบริหารจั ดการโครงการฯได้อย่างดี นักเรียนได้บริโภคไข่ ได้ฝึกอาชีพ ทำให้โรงเรียนได้ต้อนรับหน่ วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และยังได้การสนับสนุนระบบไอซีที และคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนรู้ จาก ทรู คอร์ปอเรชั่น เพื่อต่อยอดจากการยกระดับคุ ณภาพชีวิตของชุมชน นำเทคโนโลยีระบบฟาร์มอัตโนมัติ (Farm Automation) ด้วยระบบไอโอทีด้วย” ผอ.วิภาวณี กล่าว
เครือซีพี โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชี วิตชนบท และซีพีเอฟ ภูมิใจที่ได้ร่วมสร้ างโภชนาการที่ดีให้เยาวชน ตลอด 36 ปี ช่วยแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ กนักเรียน ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนโปรตี นแก่เยาวชนในชนบทมากถึง 213,794 คน ใน 959 โรงเรียนทั่วประเทศ พร้อมสนับสนุนความมั่นคงด้ านอาหารและโภชนาการที่ดีแก่เด็ กนักเรียน สร้างคลังอาหารในโรงเรียนและชุ มชนใกล้เคียง เกิดเป็นแหล่งอาหารโปรตีนโดยฝี มือของนักเรียน นำไปสู่กการพัฒนาระบบการบริ หารจัดการผลผลิตที่สร้างความยั่ งยืนให้กับโครงการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่ออาหารกลางวันได้อย่างเป็ นรูปธรรม./
No comments