Header Ads

ไทยพาณิชย์เดินหน้าภารกิจ “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ตั้งเป้าเป็นผู้นำพันธมิตรความยั่งยืนเคียงข้าง ลูกค้าสู่เป้าหมาย Net Zero ผสานพลังเทคโนโลยีร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืน

 


    ไทยพาณิชย์เดินหน้าภารกิจ “อยู่ อย่าง ยั่งยืน”

    ตั้งเป้าเป็นผู้นำพันธมิตรความยั่งยืนเคียงข้าง

    ลูกค้าสู่เป้าหมาย Net Zero

    ผสานพลังเทคโนโลยีร่วมขับเคลื่อนความยั่งยืน


    ธนาคารไทยพาณิชย์มุ่งสู่ธนาคารชั้นนำด้านความยั่งยืน (The Leading Sustainable Bank) วางกรอบพันธกิจความยั่งยืน ชูแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” (Live Sustainably) เป็นหลักปฏิบัติให้การดำเนินธุรกิจไปในทิศทางเดียวกันทุกมิติ ผสานศักยภาพเทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมขับเคลื่อนธุรกิจและสภาพแวดล้อมที่ยั่งยืนทั้งในระดับธนาคาร ลูกค้า และสังคม มองความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคนที่ต้องให้ความสำคัญ วางเป้าหมายสู่ความยั่งยืนใน 3 ระยะ ได้แก่ 1) สนับสนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้วยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนจำนวน 150,000 ล้านบาท ภายใน 2025 2) ตั้งเป้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานของธนาคาร (Scope 1-2) ให้เป็น Net Zero ภายในปี 2030 และ 3) เป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อและเงินลงทุนตามมาตรฐาน Science Based Target Initiatives (SBTi) หนุนภาคธุรกิจก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ มุ่งมั่นเป็นพันธมิตรความยั่งยืนนำพาลูกค้าเติบโตฝ่าความท้าทายสู่เป้าหมาย Net Zero พร้อมเคียงข้างและส่งต่อความยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ควบคู่กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในสังคม เพื่อให้คนไทยได้อยู่ อย่าง ยั่งยืน

    นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธุรกิจในปัจจุบันกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยความท้าทายใหม่อย่างต่อเนื่อง ทั้งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อภาวะโลกร้อนอันเป็นผลต่อเนื่องมาถึงการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตของผู้คนที่จะต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับทิศทางสังคมคาร์บอนต่ำด้วยการปรับนโยบายและกำหนดเป้าหมายด้านความยั่งยืน อย่างไรก็ตาม การที่ภาคธุรกิจทั้งระบบกำลังปรับตัวไปพร้อมๆ กันนี้เอง ก็เป็นโอกาสที่จะสร้างการขยายตัวให้เศรษฐกิจครั้งใหม่ได้อย่างมหาศาล ด้วยกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch ที่เป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจของธนาคารซึ่งครอบคลุมถึงมิติด้านความยั่งยืนที่มีการดำเนินงานด้านนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมมาตลอด 3 ปี โดยมุ่งมั่นเป็นธนาคารชั้นนำแห่งความยั่งยืน ธนาคารจึงได้กำหนดแนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” เพื่อเป็นหลักปฏิบัติที่จะนำการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนให้เกิดขึ้นในทุกคน

    Screenshot_20240903-220401

    Screenshot_20240903-220404


    ภายใต้แนวคิด “อยู่ อย่าง ยั่งยืน” ธนาคารเชื่อมั่นว่าความยั่งยืนเป็นเรื่องของทุกคน ที่ต้องร่วมกันตั้งเป้าหมาย สร้างแรงกระเพื่อม ประสานความร่วมมือ เพื่อสร้างอนาคตให้เราทุกคนได้อยู่ต่อไปอย่างยั่งยืน โดยธนาคารมีบทบาทการสนับสนุนความยั่งยืนด้วยการจัดสรรเงินทุนให้แก่ลูกค้า(Sustainable finance) กำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างรับผิดชอบ (Responsible lending) พร้อมนำความแข็งแกร่งทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคารเข้าสนับสนุนการดำเนินงานความยั่งยืนทุกมิติ ทั้งนี้ ธนาคารได้วางเป้าหมายสู่ความยั่งยืนใน 3 ระยะสำคัญ ได้แก่ 1) สนับสนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้วยสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนจำนวน 150,000 ล้านบาท ภายใน 2025 โดยปัจจุบัน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2/2024 ได้สนับสนุนสินเชื่อไปแล้วกว่า 1.11 แสนล้านบาท (โดยนับตั้งแต่ปี 2023) 2) ปรับการดำเนินงานองค์กรสู่ Net Zero ภายในปี 2030 และ 3) เป็นธนาคารไทยแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อและการลงทุนตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือ Science-Based Targets Initiative (SBTi) ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับโลก ด้วยแผนการเปลี่ยนผ่านพอร์ตสินเชื่อทั้ง 2.3 ล้านล้านบาทสู่พอร์ตสินเชื่อสีเขียว

    เพื่อบรรลุผลตามเป้าหมายข้างต้น ธนาคารได้วางกรอบการดำเนินงานด้านความยั่งยืนสำหรับการส่งต่อความยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้อง แบ่งเป็น 3 แกน ประกอบด้วย 1) Sustainable Banking สนับสนุนการเงินยั่งยืนแก่ลูกค้า 2) Corporate Practice Excellence นำไทยพาณิชย์สู่องค์กรแห่งความยั่งยืน และ 3) Better Society พัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้

    Screenshot_20240903-220407


    1) Sustainable Banking สนับสนุนการเงินยั่งยืนแก่ลูกค้า เพื่อสนับสนุนลูกค้าลดความเสี่ยงจากการทำธุรกิจกับคู่ค้า และมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ไปด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นการเสริมโอกาสทางธุรกิจ ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนในการสร้างสรรค์และพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ๆ ที่ตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยไทยพาณิชย์เป็นธนาคารไทยแห่งแรกที่ตั้งเป้า Net Zero 2050 จากการให้สินเชื่อและการลงทุนตามหลักทางวิทยาศาสตร์ (SBTi) และเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมาคมอีเควเตอร์ หรือ Equator Principles (EP) Association ในการนำหลักการ EP ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมาใช้ในการกำหนดนโยบายและพัฒนากระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมสำหรับการพิจารณาสินเชื่อโครงการของธนาคาร (Project Finance) เตรียมเงินทุนสนับสนุนการเงินยั่งยืนระหว่างปี 2023-2025 รวมกว่า 150,000 ล้านบาท และปัจจุบันได้อนุมัติวงเงินดังกล่าวไปแล้วกว่า 111,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังนำจุดแข็งทางเทคโนโลยีมาเพิ่มคุณค่าทางด้านการให้บริการและสนับสนุนลูกค้า ด้วยการมอบโซลูชั่นทางการเงินที่สอดคล้องกับธุรกิจของลูกค้า รวมถึงการเป็นที่ปรึกษาและจัดหาพาร์ทเนอร์ทางเทคโนโลยีอื่นๆ ในอนาคตเพื่อช่วยบริหารการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนระยะยาว

    2) Corporate Practice Excellence สร้างองค์กรแห่งความยั่งยืน มุ่งเน้นการนำไทยพาณิชย์ให้เป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนในทุกมิติ โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน และได้กำหนดเป้าหมาย Net Zero 2030 จากการดำเนินงานภายใน ทั้งทางด้านการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานในองค์กรให้เป็นระบบประหยัดพลังงาน และเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานสะอาด นอกจากนี้ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้วยการสร้างวัฒนธรรมความยั่งยืนภายในองค์กร พร้อมปลูกฝัง DNA ความยั่งยืนให้พนักงานธนาคารทุกคนด้วยทักษะและหลักสูตรต่างๆ พร้อมบูรณาการให้ความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งของทุกส่วนงานเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนในองค์กรและช่วยเหลือลูกค้า ควบคู่ไปกับแผนการเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของธนาคารตามยุทธวิธี AI-First Bank และการยกระดับงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ก็ยิ่งเป็นการส่งเสริมความสามารถและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับไทยพาณิชย์

    3) Better Society มุ่งมั่นพัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้น การพัฒนาสังคมที่ดียิ่งขึ้นเป็นหนึ่งในความยั่งยืนที่ธนาคารให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของคนในสังคม ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการพัฒนาแบบองค์รวม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึง และได้ร่วมช่วยบรรเทาทุกข์ บำรุงสุขแก่เยาวชน ชุมชน และสังคมไทย มาเป็นเวลามากกว่า 3 ทศวรรษ ผ่านกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคม และการสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพสำหรับโลกอนาคต ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาเยาวชน ผสานด้วยเทคโนโลยีของธนาคารที่เข้าไปร่วมสร้างระบบนิเวศทางด้านการเงินและดิจิทัล มอบองค์ความรู้และส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีให้ผู้คนในรูปแบบที่เป็นไปได้  อาทิ ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นโครงการ Smart University และ Smart Hospital โดยมีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ แล้วกว่า 400,000 รายScreenshot_20240903-220353

    ดร. ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนด้านความยั่งยืน ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวถึงกลยุทธ์เป้าหมาย Net Zero ของธนาคารเพื่อสนับสนุนการปรับตัวของลูกค้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ ว่า “ธนาคารวางกรอบพันธกิจในการผลักดันเป้าหมาย Net Zero สำหรับพอร์ตสินเชื่อและการลงทุน (Scope 3 Category 15 Investment) ภายในปี 2050 ตามมาตรฐาน SBTi (Science Based Targets Initiative) ซึ่งถือเป็นมาตรฐานแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด จากกรอบการดำเนินงานที่อยู่บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์ โปร่งใส และตรวจสอบได้ สะท้อนจากกว่า 8,800 องค์กรธุรกิจชั้นนำของโลกที่ได้ให้คำมั่นหรือประกาศเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) ตามกรอบ SBTi  โดยธนาคารไทยพาณิชย์ภายใต้ทิศทางนโยบายของ SCBX จึงนับเป็นสถาบันการเงินแห่งแรกของไทยที่ประกาศเจตจำนงสู่เป้าหมาย Net Zero ตามกรอบ SBTi ซึ่งตอกย้ำวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของธนาคารไทยพาณิชย์ในการเป็นผู้นำในการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนและสร้างความพร้อมให้กับเศรษฐกิจไทยต่อความท้าทายและโอกาสของสังคมคาร์บอนต่ำ โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ 1. ความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านการจัดสรรทรัพยากรทางการเงินเพื่อสนับสนุนความพยายามของประเทศและประชาคมโลกจำกัดอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้สูงขึ้นไม่เกิน 1.5 องศา ตามความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งจะช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่นับวันจะทวีรุนแรงยิ่งขึ้น  2. การบริหารความเสี่ยงของธนาคาร ผ่านการสนับสนุนลูกค้าเพื่อให้สามารถปรับตัวก้าวสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สามารถแข่งขันได้ภายใต้กฎระเบียบใหม่ทางการค้าการลงทุนของโลก และ 3. โอกาสทางธุรกิจ จากความต้องการเม็ดเงินลงทุนจำนวนมากจากอุตสาหกรรมต่างๆของไทยที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและการให้บริการเพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืนที่เปลี่ยนไป

    ทั้งนี้ ธนาคารมีความมุ่งมั่นในการเป็น True partner ให้กับลูกค้าของเราตลอดเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งการสนับสนุนด้านการเงินที่ยั่งยืนผ่านผลิตภัณฑ์ (Sustainable Finance) ที่ครบถ้วนในทุกกลุ่มลูกค้าและอุตสาหกรรม ตลอดจนการให้ความรู้และคำแนะนำการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความพร้อมและความต้องการของลูกค้าผ่านการจับมือกับองค์กรพันธมิตรชั้นนำที่มีความเชี่ยวชาญในมิติต่างๆ ในการสร้างระบบนิเวศน์เพื่อสนับสนุนการลงมือปฏิบัติได้จริง และนำไปสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน  โดยธนาคารดำเนินการผ่านกลยุทธ์ ไว้ 3 ด้าน ดังนี้

    1)  การบริหารพอร์ตสินเชื่อของธนาคารให้สอดคล้องกับ Net Zero Target (Net Zero Financed Portfolio Management) ด้วยการวางแผนกลยุทธ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มลูกค้ารายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) โดยในธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ได้เป็นผู้นำด้านการปล่อยสินเชื่อโรงงานไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนของไทยมายาวนาน โดยมีมูลค่าวงเงินอนุมัติสินเชื่อกว่า 1.98 แสนล้านบาทระหว่างปี 2011 ถึงปัจจุบัน ส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนในปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 61 ของพอร์ตโรงไฟฟ้าของธนาคาร เทียบเคียงธนาคารชั้นนำของโลก และทำให้ความเข้มข้นของการปล่อย GHG ต่อหนึ่งหน่วยการผลิตไฟในพอร์ตโรงไฟฟ้าของธนาคาร (ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหลักภายใต้วิธี Sectoral Decarbonization Approach (SDA))  มีการปรับตัวลดลง และอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าทั่วโลกและต่ำกว่าเส้นทางในการบรรลุ Net Zero 2050 ตาม Paris Agreement โดยกลยุทธ์ในระยะถัดไป ธนาคารจะยังคงเพิ่มวงเงินสินเชื่อโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั้งต่อลูกค้าปัจจุบันและลูกค้าใหม่ เพื่อสนับสนุนความต้องการไฟฟ้าพลังงานสะอาดที่มีเพิ่มมากขึ้น ควบคู่กับการลดการสนับสนุนพลังงานถ่านหิน ผ่านการทยอยลดสินเชื่อคงค้าง (Coal Phasing Out) และไม่ปล่อยสินเชื่อใหม่ให้แก่การขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับถ่านหิน

    สำหรับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือจากธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ธนาคารได้นำวิธี Implied Temperature Rise (ITR) ตามกรอบ SBTi มาใช้ในการวัดเป้าหมายและความคืบหน้าในการลดก๊าซเรือนกระจก โดยระดับอุณหภูมิของสินเชื่อของลูกค้าแต่ละรายจะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่น (Commitment) ในการกำหนดเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกของลูกค้าที่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยจากผลสำรวจล่าสุดในกลุ่มลูกค้าขนาดใหญ่จำนวน 218 ราย ที่คิดเป็นร้อยละ 84 ของสินเชื่อในกลุ่ม ITR ทั้งหมด (ยอดสินเชื่อทั้งหมด 4.99 แสนล้านบาท) พบว่า ระดับการตั้งเป้าหมายของลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่มีความหลากหลาย โดยลูกค้าจำนวน 77 ราย ซึ่งมีสินเชื่อรวมคิดเป็นร้อยละ 47 ของยอดสินเชื่อในกลุ่มสำรวจทั้งหมดมีการกำหนดและประกาศเป้าหมายที่ครบถ้วน อย่างไรก็ดี ยังมีลูกค้าจำนวน 100 ราย ซึ่งมีสินเชื่อรวมคิดเป็นร้อยละ 35 ของยอดสินเชื่อในกลุ่มสำรวจทั้งหมด ยังไม่มีการเก็บข้อมูล GHG และไม่มีการตั้งเป้าหมายแต่อย่างใด 

    ทั้งนี้ ด้วยกลยุทธ์ของธนาคารในการ engage กับลูกค้าเพื่อนำไปสู่การตั้งเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมกับบริบทของลูกค้าแต่ละราย ควบคู่กับการสนับสนุนด้านสินเชื่อเพิ่มเติมให้กับลูกค้าที่มีการประกาศเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้ระดับอุณหภูมิพอร์ตโฟลิโอของลูกค้ากลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดยปรับลงแล้วกว่า 0.19 องศาเซลเซียส จาก 2.84 องศาเซลเซียส จากปีฐาน 2021 มาอยู่ที่ 2.65 องศาเซลเซียส ในปี 2023 โดยธนาคารมีเป้าหมายจะทำให้ระดับอุณหภูมิของพอร์ตสินเชื่อลดลงสู่ระดับ 2.35 องศาเซลเซียส ภายในปี 2028 และ 1.50 องศาเซลเซียสในปี 2040  ซึ่งจะช่วยให้ระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบรรลุ Net Zero ได้ในปี 2050

    2) การสนับสนุนลูกค้าตลอดเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน (Partner for Client’s Sustainability Journey) ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านการเงินยั่งยืนที่ครบถ้วน และตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกขนาดในแต่ละอุตสาหกรรม พร้อมสนับสนุนการให้ความรู้และการนำเสนอ Technical Solutions ที่นำไปใช้ได้จริงแก่ลูกค้า ด้วยการผนึกกำลังกับองค์กรพันธมิตรที่มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญ ควบคู่กับการยกระดับศักยภาพของบุคลากร  การพัฒนาระบบฐานข้อมูลและกระบวนการบริหารงานภายในต่างๆ เพื่อการเป็น True Partner ให้กับลูกค้าบนเส้นทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของลูกค้าที่ต่างกัน

    • ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารนำเสนอผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียว (Green Loan) สินเชื่อที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Linked Loan) โดยอัตราดอกเบี้ยที่คิดจะขึ้นกับความสำเร็จของเป้าหมายด้านการลดก๊าซเรือนกระจกหรือเป้าหมายด้าน Sustainability อื่นๆ ของโครงการ ตลอดจนสินเชื่อโครงการพลังงานทดแทน รวมถึงผลิตภัณฑ์ตลาดทุนและการเงินอื่นๆ เช่น การจัดจำหน่ายตราสารหนี้ด้านความยั่งยืน (Sustainable Bond Underwriting) และ เงินฝากยั่งยืน (Sustainable Deposit) เป็นต้น  
    • ลูกค้าเอสเอ็มอี ธนาคารมุ่งเน้นการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อปรับตัวธุรกิจที่สอดคล้องกับบริบทความพร้อมและความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่ม อาทิ โซลูชันเพื่อธุรกิจรักษ์โลกเพื่อผู้ประกอบการ SMEs (SCB SME Green Finance)  โครงการสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มประสิทธิภาพธุรกิจสำหรับธุรกิจโรงแรม ตลอดจนโครงการสินเชื่อลดฝุ่น PM 2.5 ในภาคธุรกิจอ้อยและน้ำตาล ซึ่งเป็นความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการให้ความรู้เพื่อให้ลูกค้าสามารถปรับตัวและดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ให้สามารถทำได้จริง เกิดผลจริง และต่อยอดธุรกิจได้ ผ่านหลักสูตรระยะยาว งานสัมมนา และงาน Bootcamp รวมทั้งกิจกรรม Business Matching ขยายธุรกิจเพิ่มขึ้น สร้าง Ecosystem สำหรับเอสเอ็มอี ด้วยการความร่วมมือส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้ผู้ประกอบการทั้งหน่วยงานราชการ สมาคม สมาพันธ์ และ พันธมิตรทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
    • ลูกค้าบุคคล ธนาคารนำเสนอสินเชื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์รักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ สินเชื่อเพื่อติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป และสินเชื่อรถยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งพัฒนาช่องทางดิจิทัลของธนาคารให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์เพื่อการปรับตัวสู่ความยั่งยืนผ่าน SCB EASY เป็นต้น

    3) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมตามหลักการ Equator Principles (EP)  (EP adoption and implementation) เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผลักดัน ‘การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ’ สู่ ‘การยกระดับการเงินที่ยั่งยืน’ เพื่อช่วยลูกค้าลดความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจ และเพื่อผลักดันการสนับสนุนแก่ลูกค้าและสังคมไปสู่เป้าหมาย การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเป็นธนาคารไทยแห่งแรกและแห่งเดียวที่ริเริ่มการนำ Equator Principles (EP) ซึ่งเป็นกรอบการบริหารความเสี่ยงสำหรับสถาบันการเงิน ที่นำมาตรฐานสากล Best Practices มาใช้เป็นกรอบแนวทางในการระบุ ประเมิน และจัดการความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมควบคู่กับการให้สินเชื่อในส่วนของธนาคารไทยพาณิชย์ ตั้งแต่ปี 2022 จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการประเมินโครงการตามหลักการ EP ไปแล้วทั้งสิ้น 53 โครงการ คิดเป็นมูลค่าโครงการรวมกว่า 75,500 ล้านบาท

    Screenshot_20240903-220358

    นายกฤษณ์กล่าวเสริมว่า “ความยั่งยืนของไทยพาณิชย์เราเริ่มมาแล้วร้อยกว่าปี และสิ่งที่เราทำในวันนี้ คือการส่งต่ออนาคตที่ยั่งยืนให้กับลูกหลานได้อยู่ต่อไปอีกร้อยปี เพื่อที่จะเดินไปข้างหน้า ผู้คนจะต้องดำเนินชีวิตด้วยคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียม ธุรกิจจะต้องเติบโตต่อไปได้อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไทยพาณิชย์มุ่งมั่นเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน พร้อมสนับสนุนและร่วมมือกับพันธมิตรส่งต่อความยั่งยืนให้กับลูกค้าทุกกลุ่ม ผ่านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและโซลูชั่นทางการเงิน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคมได้อยู่ อย่าง ยั่งยืน”

    ทั้งนี้ การจัดงานแถลงข่าว SCB Live Sustainably ครั้งนี้ ไทยพาณิชย์เป็นธนาคารแรกในประเทศไทยที่จัดขึ้นในรูปแบบ Net Zero Event มีวัตถุประสงค์ต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์จากการจัดงานด้วยการดำเนินกิจกรรมภายในงานในรูปแบบคาร์บอนต่ำ อาทิ การลงทะเบียนและการสื่อสารในระบบดิจิทัล เลือกใช้วัสดุรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ในการจัดงาน การจัดอาหารและเครื่องดื่มด้วยบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การแนะนำการเดินทางด้วยระบบสาธารณะ โดยมีการคำนวณคาร์บอนฟุตพรินท์ที่ปล่อยจากการจัดงานตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ เพิ่มความถูกต้องด้วยการตรวจสอบจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ และทำการซื้อคาร์บอนเครดิตประเภทป่าไม้มาชดเชยเท่ากับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจริงในงาน ธนาคารขอขอบคุณที่ท่านเป็นส่วนหนึ่งในการ อยู่ อย่าง ยั่งยืน

    ลูกค้าสามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางความยั่งยืน และผลิตภัณฑ์การเงินเพื่อความยั่งยืน ได้ทาง https://www.scb.co.th/th/about-us/sustainability

    No comments

    Theme images by sololos. Powered by Blogger.