ผู้เชี่ยวชาญ PDPA เผยข้อคิดองค์กร กรณีสั่งปรับทาง ปกครอง 7 ล้านบาท
ผู้เชี่ยวชาญ PDPA เผยข้อคิดองค์กร กรณีสั่งปรับทาง
ปกครอง 7 ล้านบาท
กรณีสำนักงานคณะกรรมการคุ้ มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) แถลงข่าวการลงโทษสั่งปรับบริษัท เอกชนขนาดใหญ่สูงถึง 7 ล้านบาท ด้วยมีความผิดฐานไม่ดำเนิ นการตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่ วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ PDPA เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
ดร.อุดมธิปก ไพรเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริ หาร บริษัท ดีบีซี กรุ๊ป จำกัด และผู้ก่อตั้ง PDPA Thailand ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการคุ้ มครองข้อมูลส่วนบุคคลไทย เผยถึงอุทาหรณ์และข้อคิดที่องค์ กรทั่วประเทศได้รับ จากเคสดังกล่าว และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กั บการดำเนินงานให้สอดคล้ องตามกฎหมาย PDPA ในหลากหลาย ประเด็น ดังนี้
เหตุสั่งปรับ 7 ล้านบาท องค์กรพลาดอะไร?
3 เรื่องใหญ่ที่องค์กรเอกชนแห่งนั้ นพลาดคือ
- ไม่มี DPO หรือเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมู
ลส่วนบุคคล เมื่อเข้าข่ายจำเป็นต้องแต่งตั้ ง ตาม PDPA มาตรา 41(2) - ไม่มีมาตรการรักษาความมั่
นคงปลอดภัยข้อมูลที่เพียงพอ ตาม PDPA มาตรา 37(1) และ - ไม่มีการแจ้งเหตุละเมิดภายใน 72 ชั่วโมงนับตั้งแต่ทราบเรื่อง ตาม PDPA มาตรา 37 (4)”
องค์กรหลาย ๆ แห่ง (รวมถึงบริษัทที่โดนปรับ) อาจจะไม่รู้ว่าต้องมี DPO ไม่ว่าจะด้วยไม่ได้ติดตาม ข่าวสารอย่างใกล้ชิด หรือตีความเงื่อนไขในกฎหมายแม่/ กฎหมายลูกไม่ถูก ไม่ชัวร์ว่าต้องทำอย่างไร ความซับซ้อน ของปัญหาและการโดนปรับทั้ งหมดเริ่มต้นที่จุดนี้ ซึ่ งหากคุณมี DPO คุณก็จะไม่ผิดแล้วในกระทงตามข้อ 1. เมื่อมี DPO แล้วก็จะช่ วยแนะนำการทำตามกฎหมายในแง่มุ มต่าง ๆ ทั้งมาตรการรักษาความมั่ นคงปลอดภัยข้อมูล และ การแจ้งเหตุละเมิดความเสี่ยงที่ จะผิดกฎหมาย PDPA ในแง่มุมอื่น ๆ ก็ลดลงตามไปด้วย ด้านมาตรการรักษา ความมั่นคงปลอดภัย องค์กรมักเน้นการคุ้มครองข้อมู ลจากคนภายนอก เจาะระบบเข้ามาเอาข้อมูลไป แต่จาก กรณีศึกษาทั่วโลกจะพบว่า หลายครั้งการละเมิดข้อมูลมีที่ มาจากคนในองค์กรเอง ด้วยสาเหตุเช่น ความไม่ชอบ หน้ากัน ผลประโยชน์ และความประมาท เป็นต้น การมีมาตรการรักษาความมั่ นคงปลอดภัยของข้อมูลที่ครอบคลุม ทั้งในและนอกองค์กรจึงมี ความสำคัญ DPO ที่มีประสบการณ์ และความชำนาญจะเข้าใจ
ดังนั้นเพื่อลดโอกาสพลาดยิ่งขึ้ นไปอีก DPO ที่แต่งตั้ง (และทีม) ต้องมีความรู้ความเข้าใจในตั วบทกฎหมาย และการปรับองค์กรตามกฎหมายที่ มากพอ ซึ่งสมัยนี้ก็มีหลักสูตรฝึกอบรม ที่เปิดสอนแบบเจาะลึก และหลาย ๆ แห่ง ก็มีเนื้อหาของหลักสูตรที่ สอดคล้องตามที่สคส.กำหนด
ค่าปรับเหมาะสมหรือไม่กับเคสนี้ ?
ดร.อุดมธิปก กล่าวว่า หลาย ๆ คนโดยเฉพาะผู้บริโภคส่วนใหญ่ คงบอกว่า บริษัทขนาดใหญ่รายได้มากมาย โดนปรับจำนวนนี้คงเหมือนแค่ สะเก็ดหินกระเด็นมาโดน ไม่รู้สึกอะไร ส่วนตัวมองความเสียหายว่าไม่ได้ เป็นเพียง แค่จำนวนเงิน เพราะการถูกสั่งปรับกระทบต่อชื่ อเสียงแน่นอน อาจสร้างความเสียหายเชิงธุรกิ จตามมาอย่างไม่ สามารถประเมินได้ก็เป็นได้ ซึ่ งเรื่องการพิจารณาค่าปรับเป็ นเรื่องที่ยากจะให้ความเห็น เนื่องจากมีหลายปัจจัยมา เกี่ยวข้อง แต่เชื่อว่ าทางคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ คณะที่ 2 คงได้พินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้ วนแล้ว ขณะเดียวกันผู้เสียหายไม่ว่ าจะโดนหลอกหรือไม่ แต่เป็นลูกค้าของบริษัทนี้ที่ข้ อมูลรั่วออกไป มีสิทธิที่ยื่น ฟ้องทางแพ่งตาม PDPA เพื่อเรียกค่าเสียหายจากบริษั ทกับศาลแพ่งต่อไปได้อีกด้วย
สำหรับองค์กรที่ผิด PDPA หลังจากนี้ มองว่า หากมีเคสแบบเดียวกันในช่ วงเวลาก่อนหน้านี้ เชื่อว่า การพิจารณาสั่งลงโทษปรับคงไม่ แตกต่างกันเท่าไหร่ แต่ก็เชื่ อว่า หลังจากนี้หากองค์กรละเมิ ดกฎหมาย PDPA ในลักษณะแบบเดียวกัน อาจมีการลงโทษที่รุนแรงเพิ่มขึ้ น เพราะการสั่งปรับได้สร้ างความตระหนักรู้ต่อสังคมแล้ว มาตรฐานถูกยกขึ้นมาแล้ว การตัดสินของคณะกรรมการผู้เชี่ ยวชาญก็อาจเข้มงวดมากขึ้น เพราะอย่าลืมว่า ยังมีอีกหลายมาตราและลั กษณะความผิดตามกฎหมายที่เรายั งไม่ทราบว่าได้รับการพิ จารณาในการกระทำความผิดครั้งนี้ ด้วยหรือไม่ ทั้งนี้ต้องพิจารณาขนาดขององค์ กร รายได้ และพฤติกรรม/กิจกรรมขององค์กรร่ วมด้วย
ทิศทางการคุ้มครองข้อมูลฯ หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร?
ดร.อุดมธิปก กล่าวว่า ขอแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกสำหรับองค์กรเอกชน ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะตื่นตัวเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ เพราะโทษชัดเจนว่า 1) การมี DPO สำคัญ และ 2) ต้องปฎิบัติตามกฎหมาย PDPA โดยจะให้ความสำคัญกับ Cyber Security ก่อน ซึ่งอาจจะไม่ถูกสักทีเดียว เพราะท้ายที่สุดการถูกร้องเรียน จากเจ้าของข้อมูลส่วนบุ คคลอาจไม่ได้เกิดจากกรณีที่มีข้ อมูลถูกละเมิดหรือรั่วไหลเพี ยงอย่างเดียว และการแจ้งเหตุ การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลไปที่ สคส.จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ในทุกรูปแบบ เพราะไม่มั่นใจว่าควรแจ้งหรื อไม่
ส่วนกลุ่มที่ 2 คือ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) จะมาใช้สิทธิข้อมูลส่วนบุ คคลของตนเอง กับทางผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุ คคลกันมากขึ้น และจะร้องเรียนกับทาง สคส.เพิ่มมากขึ้น เพราะเริ่มรู้กันแล้วว่า สามารถทำได้ ร้องเรียนได้ และมีต้นทุนในการร้องเรียนต่ำ
และกลุ่มสุดท้ายคือหน่ วยงานของรัฐ ที่เป็นผู้ควบคุมข้ อมูลส่วนบุคคล อาจจะยังไม่ตระหนักถึงความเสี่ ยง และผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุ คคลมากนัก แต่จะเริ่มปฏิบัติตาม PDPA เพิ่มมากขึ้น เพราะคาดว่าแรงกดดันจากสังคม ที่จะให้ลงโทษหน่วยงานรัฐที่ ละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA จะสูงขึ้น
องค์กรอยากเริ่มทำ PDPA ทำอย่างไร?
การทำ PDPA ให้ถูกต้องเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ต้องมีความเข้าใจในธุรกิ จขององค์กร กฎหมายที่เกี่ยวข้องไม่เฉพาะ PDPA กระบวนการทำงานขององค์กร และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ ยวข้อง โดยมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 - องค์กรควรเริ่มด้วยการตั้ งคำถามว่า องค์กรเราต้องใช้ข้อมูลส่วนบุ คคลจากใคร แบบไหน เพื่อไปทำอะไร รวมทั้งตรวจข้อมูลส่วนบุคคลที่ องค์กรองค์กรมีอยู่
ขั้นตอนที่ 2 - แต่งตั้ง DPO หากเข้าข่ายจำเป็นต้องมี มีพนักงานหรือคณะทำงานด้านการคุ้ มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากไม่มั่นใจก็อาจจะหาคนที่เข้ าใจเรื่องนี้มาช่วย หรือพัฒนาบุคลากรขององค์กรเพื่ อให้เข้าใจเรื่อง PDPA องค์กรที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุ คคลจำนวนมาก (เกิน 100,000 ราย) หรือทำกิจกรรมที่มี การประมวลผลข้อมูลโดยตรงเป็นหลั ก ให้ตีไว้ก่อนเลยว่าต้องมี DPO
ขั้นตอนที่ 3 - มอบหมายให้คนที่ดูแลรับผิ ดชอบเริ่มต้นจัดทำ บันทึกรายการกิจกรรมการประมวลผล (RoPA) เพื่อให้มองเห็นและติดตามข้อมู ลในองค์กรได้ จัดทำประกาศความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) ให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุ คคลทราบแสดงความโปร่งใส มีมาตรการรองรับการใช้สิทธิ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และเริ่มสร้างมาตรการความมั่ นคงปลอดภัยข้อมูลที่เหมาะสมกั บองค์กรและระดับความเสี่ยงของข้ อมูล โดยอาจเริ่มจากมาตรการที่ลงทุ นน้อย ทำได้ง่าย และขยับไปสู่การปรับเปลี่ ยนโครงสร้างขนาดใหญ่ตามลำดับ
ดร.อุดมธิปกเชื่อว่า “การทำ 3 ขั้นตอนนี้ช่วยลดความเสี่ยงไม่ ถูกปรับ 7 ล้านอย่างแน่นอน”
No comments