Header Ads

ผ่าตัดรักษามะเร็งปอด ทำได้อย่างไร

  cover%20%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94%20%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3


ผ่าตัดรักษามะเร็งปอด ทำได้อย่างไร


ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย  


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์


ทรวงอกเฉพาะทางด้าน


           การผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก              

โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

                                                                                      มะเร็งปอด เป็นโรคร้ายที่ป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด แต่หากเป็นแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา ซึ่งหลักการในรักษามะเร็งปอดคือ การผ่าตัดเอาปอดที่เป็นโรคและต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบๆรอยโรคออกไปให้หมด สำหรับวิธีการเข้าไปผ่าตัดรักษานั้น สามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู่ป่วย ตำแหน่งของก้อนมะเร็งและระยะของโรค                                                                                                  

          ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย  แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า วิธีการผ่าตัดเพื่อรักษามะเร็งปอดนั้น มี 2 วิธี 1.การผ่าตัดแบบแผลเปิด (Open Thoracotomy) เป็นการผ่าตัดที่มีแผลยาวหนึ่งบริเวณใต้ต่อบริเวณสะบัก จะใช้อุปกรณ์ถ่างขยายซี่โครง และ ใช้มือของศัลแพทย์และอุปกรณ์การผ่าตัด เข้าไปทำการผ่าตัดปอด โดยทั่วไปความยาวของแผลจะอยู่ประมาณ 20-30 เซนติเมตร  และ 2. การผ่าตัดเจาะรูส่องกล้อง (Uniportal Video-assisted thoracoscopic) ทำได้โดยการเจาะรูเล็กๆ บริเวณข้างลำตัว 1 แผล ขนาดประมาณ 3 เซนติเมตรเพื่อสอดกล้องและอุปกรณ์ผ่าตัดที่มีลักษณะเป็นท่อบางๆ ยาว ตรงปลายท่อมีหลอดไฟและกล้องความละเอียดสูงเพื่อให้ศัลยแพทย์มองเห็นภายในช่องทรวงอกและตัดก้อนมะเร็งพร้อมกับต่อมน้ำเหลืองที่อยู่รอบๆได้ 

         โดยทั่วไป ศัลยแพทย์ทรวงอกสามารถใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้องรักษามะเร็งปอดได้ทุกตำแหน่งของปอดทั้ง 2 ข้าง ยกเว้นกรณีที่มะเร็งก้อนใหญ่มากหรือติดอวัยวะข้างเคียงค่อนข้างมาก อาจต้องใช้การผ่าตัดแบบเปิดแทน

          การผ่าตัดแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อด้อยอย่างไร การผ่าตัดเจาะรูส่องกล้อง ลดอาการบาดเจ็บ และ การกระตุ้นต่อการอักเสบของกล้ามเนื้อส่งผลทำให้ร่างกายบอบช้ำน้อย แผลผ่าตัดเล็ก เจ็บแผลน้อยกว่า ทำให้การฟื้นตัวเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด โดยเฉพาะผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน ความดัน และ อื่น ๆ

การผ่าตัดส่องกล้องจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ดีกว่า ในขณะที่การผ่าตัดแบบเปิด แผลผ่าตัดจะใหญ่และร่างกายบอบช้ำมากกว่าแต่มีข้อดีคือค่าใช้จ่ายถูกกว่า สำหรับอัตราการรอดชีวิตและการกลับมาเป็นมะเร็งปอดซ้ำนั้น การผ่าตัดแบบเปิดและการผ่าตัดส่องกล้องมีอัตราการรอดชีวิตและการกลับมาเป็นซ้ำของมะเร็งปอด ไม่แตกต่างกัน

ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนการผ่าตัด

ก่อนการผ่าตัดแบบเปิดและการผ่าตัดส่องกล้อง แพทย์จะตรวจสุขภาพอย่างละเอียดเพื่อประเมินสุขภาพโดยรวม หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัว แพทย์จะแนะนำให้ควบคุมโรคให้ดีก่อน ก่อนการผ่าตัดปอดผู้ป่วยประเมินสมรรถภาพของปอดก่อนเข้ารับการผ่าตัด เนื่องจากจะได้ประเมินว่าหลังผ่าตัดทนต่อการผ่าตัดปอดได้หรือไม่ งดรับประทานอาหารและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัดหรือตามคำแนะนำของแพทย์

หลังผ่าตัดควรดูแลตัวเองอย่างไร

ในการผ่าตัดแบบเปิด ศัลยแพทย์จะต้องตัดกล้ามเนื้อส่วนลำตัวออกไปค่อนข้างเยอะและผู้ป่วยจะมีแผลที่ยาว ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ยกของหนักใน 2-3 เดือนแรกหลังการผ่าตัดเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อแยกได้ สำหรับการผ่าตัดส่องกล้อง ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติภายใน 1 เดือน

 ในการผ่าตัดทุกประเภท โดยเฉพาะการผ่าตัดส่องกล้องจำเป็นต้องใช้ฝีมือของศัลแพทย์ทรวงอกผู้ชำนาญด้านเทคนิคการผ่าตัดด้วยกล้องโดยเฉพาะ การผ่าตัดมะเร็งปอดจะทำให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติอีกครั้ง สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่เพจเฟซบุ๊กผ่าตัดปอดโดยนายแพทย์ศิระหรือ Lineid:@lungsurgeryth  

%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94

No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.