Header Ads

เด็กและเยาวชนร่วมงาน “เปิดบ้านยูนิเซฟ” ครั้งแรกในรอบ 75 ปี หวังเห็นสังคมไทยที่เท่าเทียม

 กลุ่มคนหนุ่มสาวที่ดูกระฉับกระเฉงกำลังรวมตัวกันอยู่กลางแจ้ง ถือป้ายพร้อมข้อความต่างๆ เป็นภาษาอังกฤษ เช่น #Opportunities #MentalHealth #Dreams #Careers และ #Future เป็นต้น พวกเขากำลังยืนอยู่หน้าอาคารทรงโบราณที่มีหน้าต่างบานใหญ่ที่มีกรอบหน้าต่างสีเขียว ตรงกลางมีป้ายขนาดใหญ่พร้อมข้อความภาษาอังกฤษเขียนว่า 'I dream of... for children' และป้ายผ้าโลโก้ยูนิเซฟ ทางด้านขวามือเป็นคนสวมชุดมาสคอตเท็ดดี้ บลู ตัวใหญ่ ทุกคนยิ้มแย้มแจ่มใส สร้างบรรยากาศที่มีชีวิตชีวาและมีความหวัง


เด็กและเยาวชนร่วมงาน “เปิดบ้านยูนิเซฟ” ครั้ง

แรกในรอบ 75 ปี

หวังเห็นสังคมไทยที่เท่าเทียม


เด็กและเยาวชนไทยทั่วประเทศร่วมงาน "เปิดบ้านยูนิเซฟ” ครั้งแรกในรอบ 75 ปี เพื่อเรียนรู้เรื่องสิทธิเด็ก พร้อมบอกเล่าความฝันและความหวังของพวกเขาในอนาคต (UNICEF Thailand/2024/Phutpheng)


กรุงเทพฯ 11 มกราคม 2567 – เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย เปิดบ้านยูนิเซฟ” (UNICEF Thailand’s Open House) ครั้งแรกในรอบ 75 ปี โดยมีเด็กและเยาวชนไทยทั่วประเทศเข้าร่วมงานเพื่อเรียนรู้เรื่องสิทธิเด็ก พร้อมบอกเล่าความฝันและความหวังของพวกเขาในอนาคตที่เด็กทุกคนจะมีสิทธิที่เท่าเทียมกัน  งานเปิดบ้านครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนระหว่างที่พวกเขากำลังเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่

เด็กและเยาวชนที่มาร่วมงานส่วนใหญ่กำลังเรียนอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและมหาวิทยาลัย โดยพวกเขาได้เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับอาสาสมัคร I AM UNICEF เช่น เกมสิทธิเด็ก ซึ่งจำลองสถานการณ์ให้เด็กทุกคนได้เข้าใจเรื่องสิทธิอย่างลึกซึ้งขึ้น ทั้งในด้านสิทธิที่จะมีชีวิตรอด สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา สิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครอง และสิทธิที่จะมีส่วนร่วม ในขณะเดียวกัน เด็ก ๆ ยังได้เรียนรู้ถึงบทบาทของพวกเขา ตลอดจนบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลและภาคส่วนต่าง ๆ ในการปกป้องสิทธิเด็ก นอกจากนี้ พวกเขายังได้เรียนรู้งานของยูนิเซฟในช่วง 75 ปีที่ผ่านมาผ่านนิทรรศการภาพถ่าย และได้รับฟังเรื่องราวประสบการณ์ตรงจากคนทำงานด้านสิทธิมนุษยชนผ่านกิจกรรม หนังสือพูดได้” ที่มาเปิดวงคุยกับเด็ก ๆ ให้เข้าใจการทำงานด้านนี้มากขึ้ 

ภวัต วรรณศรี วัย 16 ปี ซึ่งเดินทางมาจากจังหวัดสิงห์บุรีเพื่อร่วมงานนี้ กล่าวว่า "ผมเห็นปัญหามากมายเกี่ยวกับเด็ก ผู้ใหญ่ และคนสูงอายุ และอยากเห็นการแก้ปัญหาที่ดีและยั่งยืน การมาร่วมกิจกรรมเปิดบ้านกับยูนิเซฟครั้งนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้เรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองเพื่อค้นหาเส้นทางในอนาคต"

                       A group of people holding signs and a teddy bear

Description automatically generatedA person wearing a mask holding a video game

Description automatically generated

A person standing next to a stuffed bear

Description automatically generatedWriting on a table with markers

Description automatically generated

ด้านณัฐณิชา คันธาภิชาติ วัย 20 ปี ซึ่งกำลังเรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้นอกจากทำให้เธอเข้าใจรายละเอียดเรื่องสิทธิมากขึ้นแล้ว ยังได้เปิดมุมมองใหม่ ๆ เช่น ทำให้เห็นว่าการลงทุนทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับเด็กกลุ่มเปราะบางและช่วยให้พวกเขาหลุดออกจากวงจรความยากจน

ในงานเปิดบ้านยูนิเซฟครั้งนี้ ยังมี รษิกา พาณีวงศ์ หรือ Softpomz เจ้าของยูทูปช่อง Softpomz และ Softpomz Channel ซึ่งมีผู้ติดตามรวมกว่า 8 ล้านคนมาร่วมพูดคุยถึงเส้นทางการเป็นคอนเทนต์ครีเอเตอร์ พร้อมแบ่งปันแนวคิดเรื่องการเห็นคุณค่าของตัวเองและการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็ก ๆ ในการทำตามความฝันและการร่วมสร้างสังคมที่เท่าเทียมสำหรับทุกคน

ก่อนงานเปิดบ้านยูนิเซฟจะจบลง เด็กและเยาวชนได้ร่วมกันเขียนสิ่งที่ใฝ่ฝันอยากให้เกิดขึ้นเพื่อเด็กบนผืนผ้าใบ เด็กหลายคนสะท้อนประเด็นต่าง ๆ ในชีวิตของพวกเขา เช่น การศึกษา ความรุนแรง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสุขภาพจิต หลายคนหวังอยากเห็นสังคมที่เท่าเทียมขึ้นและการศึกษาที่ดีขึ้นที่เตรียมพร้อมพวกเขาสู่โลกอนาคต  เหล่านี้คือข้อความบางส่วนของเด็ก

  • “อยากให้เด็ก ๆ ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน”
  • “ฉันฝันว่าเด็กไทยทุกคนจะได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมและได้อยู่บนโลกที่มีสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและน่าอยู่”
  • “ขอให้เด็กทุกคนมีอิสระในการใช้ชีวิตและปลอดภัยจากความรุนแรง”
  • “ฉันฝันว่าเด็ก ๆ ทุกคนจะเป็นในสิ่งที่อยากเป็น ฝันว่าเด็ก ๆ กล้าที่จะฝันและกล้าที่จะลงมือทำ”
  • “อยากให้ระบบการศึกษาไทยตอบโจทย์บริบทสังคม ความต้องการของเด็กและวิถีชีวิตท้องถิ่น”
  • “ขอเป็นกระบอกเสียงแทนเด็ก สตรีและเยาวชนถึงยูนิเซฟ อยากให้ช่วยเรื่องระบบการศึกษาของเด็กไทยที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือช่วยเหลือผู้ยากไร้ เพราะบุคคลเหล่านี้คือบุคลากรสำคัญของประเทศชาติในอนาคต

No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.