Header Ads

บริติช เคานซิล โชว์เคสความร่วมมือ กระทรวง อว. ชู 2 มหาวิทยาลัยไทย สานต่อความร่วมมือไทย – UK ยกระดับสถาบันอุดมศึกษาสู่เวทีการแข่งขันโลก ท่ามกลางความท้าทายภูมิทัศน์การศึกษา


บริติช เคานซิล โชว์เคสความร่วมมือ กระทรวง อว.


 ชู มหาวิทยาลัยไทย สานต่อความร่วมมือไทย 


 UK ยกระดับสถาบันอุดมศึกษาสู่เวทีการแข่งขันโลก


 ท่ามกลางความท้าทายภูมิทัศน์การศึกษา

 

·    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เผยโฉมโครงการพัฒนาวิจัยศูนย์ผู้สูงอายุและโรคเรื้อรังร่วมกับสถาบันชั้นนำระดับโลกจาก UK พร้อมเร่งขยายผลสู่ระดับนานาชาติ

·    มหาวิทยาลัยนเรศวร จับมือ มหาวิทยาลัยลินคอล์นผลักดันความร่วมมือด้านการออกแบบการจัดการน้ำ เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 


         เมื่อสถานการณ์ของโลกในมิติต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิทัศน์ทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยไทยต้องเผชิญกับความท้าทาย และต้องปรับเปลี่ยนบทบาทให้เชื่อมโยงและเท่าทันต่อความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นในโลกยุคใหม่ด้วยการยกระดับการเตรียมความพร้อมให้คนในระบบการศึกษามีคุณภาพและมีสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต โดยเฉพาะการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อนำมาใช้ผลิตบัณฑิตสาขาวิชาต่างๆ พร้อมเสริมศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาไทยในการแข่งขันในระดับโลก สู่การขับเคลื่อนพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน



เพื่อสนับสนุนนโยบายของประเทศในการพัฒนาการศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล บริติช เคานซิล จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ริเริ่ม โครงการความร่วมมือระดับอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยและสหราชอาณาจักร หรือ Thai-UK World-class University Consortium เพื่อเดินหน้าสร้างความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทย ผ่านการเชื่อมโยงเครือข่ายในระดับนานาชาติ เปิดโอกาสให้ตัวแทนจากสถาบันอุดมศึกษาของสหราชอาณาจักรได้มีส่วนร่วมแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนทรัพยากรและความเชี่ยวชาญ ร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในประเทศไทย โดยวันนี้ บริติช เคานซิล จะพาไปสำรวจตัวอย่างความสำเร็จจาก โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและ มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร ที่มีเป้าหมายร่วมกันในการพลิกโฉมสถาบันอุดมศึกษาให้ก้าวทันโลกอนาคต


·       มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ – ศูนย์วิจัยผู้สูงอายุและโรคเรื้อรังแห่งสหราชอาณาจักร

โครงการความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยเกี่ยวกับโรคเรื้อรังระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.นพ. ชัยสิริ อังกุระวรานนท์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วยทีม Global Health Research Center จากประเทศไทย ร่วมกับ The London School of Hygiene & Tropical Medicine, University of Oxford) และ University College of London

 

รศ.ดร.นพ. ชัยสิริ บอกเล่าถึงความสำเร็จจากความร่วมมือในครั้งนี้ว่า การทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยพันธมิตรจากสหราชอาณาจักร มีส่วนช่วยทำให้สถาบันเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ ส่งเสริมการสร้างศักยภาพและพัฒนาทักษะของสถาบัน และยังช่วยเสริมสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัยร่วมกันในอนาคตอย่างยั่งยืน ช่วยให้ศูนย์วิจัยฯ ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยทั้งจากแหล่งทุนในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนบุคลากร ทั้งระดับอาจารย์ และนักวิจัย โดยได้ร่วมกันพัฒนารููููปแบบความร่วมมือด้านการวิจัย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุน จาก National Institute for Health and Care Research (NIHR) เป็นจำนวนถึง 2.2 ล้านปอนด์ หรือราว 100 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินงาน 4 ปี และคาดว่าความร่วมมือครั้งสำคัญนี้ จะสามารถขยายผลอย่างยั่งยืนจากระดับชุมชนไปสู่ระดับประเทศ และนานาชาติในที่สุด นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมร่วมกันอีกมากมาย อาทิ กิจกรรม Joint workshop between CMU-UK Institution(s) and Microsoft Research Lab India เพื่อศึกษาการดำเนินงานของ Microsoft Research Lab ที่ประเทศอินเดีย, กิจกรรมประชุมประจำเดือนกับพันธมิตรจากสหราชอาณาจักรเพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ความสนใจร่วมกัน และยังได้ร่วมกันพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เพื่อขยายผลวิจัยไปสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังระดับชุมชนต่อไป


“การสนับสนุนและการส่งเสริมความร่วมมือที่ต่อเนื่องจากทั้ง กระทรวง อว. และบริติช เคานซิล ประเทศไทย ตลอดจนมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยและสหราชอาณาจักร ไม่เพียงนำมาซึ่งการพัฒนาผลงานทางวิชาการและวิจัยให้แก่ทั้งสองประเทศเท่านั้น แต่ความร่วมมือดังกล่าว ยังเป็นอีกกลไกสำคัญที่จะช่วยเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยไทยได้โชว์ศักยภาพและความเป็นเลิศในเวทีระดับโลก อันนำไปสู่การสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งและการขยายผลงานวิจัยอย่างยั่งยืนในอนาคตอีกด้วย”

 

·       สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง ขับเคลื่อนความยั่งยืน มหาวิทยาลัยนเรศวร  University of Lincoln

รศ.ดร.วิติยา ปิดตังนาโพธิ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้ดำเนินความร่วมมือกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง มหาวิทยาลัยลินคอล์น จัดทำโครงการ Designing with Water towards Sustainable Development and Regeneration ได้กล่าวถึงประโยชน์ในการเข้าร่วมโครงการ ฯ ว่าได้ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวิชาการและการวิจัยระหว่างทั้งสองสถาบัน และสนับสนุนการทำงานร่วมกันแบบสหวิทยาการ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและความเชี่ยวชาญที่หลากหลายมาสู่การวิจัยขั้นสูง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพและทักษะของทั้งคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาที่มีส่วนร่วม โดยเฉพาะการพัฒนาความรู้ใหม่และโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมด้านการออกแบบการจัดการน้ำ นำไปสู่การพัฒนาและการฟื้นฟูที่ยั่งยืน ซึ่งไม่เพียงมีวัตถุประสงค์เพื่อการขยายผลงานวิจัยในระดับชุมชนและประเทศ แต่ยังสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการฯ ที่ต้องการให้สถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาความเป็นเลิศด้านการวิจัยในประเด็นสำคัญอันเป็นความท้าทายระดับโลกอีกด้วย

 

ทั้งนี้ ในปี 2567 มีจำนวนมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเข้าร่วมโครงการความร่วมมือระดับอุดมศึกษาระหว่างประเทศไทยและสหราชอาณาจักร ทั้งสิ้น มหาวิทยาลัย ใน 15 สาขาวิชา ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และมหาวิทยาลัยนเรศวร โดยบริติช เคานซิล และกระทรวง อว.ยังคงเดินหน้าเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสหราชอาณาจักร เพื่อต่อยอดความสำเร็จในการยกระดับศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษาไทยให้มุ่งสู่ระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง

 

สามารถติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวของกิจกรรมตลอดทั้งปี ของบริติช เคานซิล ได้ที่เว็บไซต์ www.britishcouncil.or.th และ เฟสบุ๊คแฟนเพจ British Council Thailand หรือทางแอปพลิเคชั่นไลน์ @studyukthailand

###


เกี่ยวกับบริติช เคานซิล

บริติช เคานซิล คือ องค์กรนานาชาติเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม และโอกาสทางการศึกษา เราสนับสนุนสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองด้วยการสร้างสายสัมพันธ์ ความเข้าใจ และความไว้วางใจระหว่างผู้คนในสหราชอาณาจักรและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ผ่านงานศิลปะ วัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ การศึกษา และภาษาอังกฤษ เราทำงานกับผู้คนในกว่า 200 ประเทศและมีออฟฟิศอยู่ในมากกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ในระหว่างปี 2565 – 2566 เราได้เข้าถึงผู้คนกว่า 600 ล้านคน

 


No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.