เนื่องในโอกาสวันโอโซนโลก เมื่อเร็วๆนี้ 16 กันยายน ซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงข้อตกลงมอนทรีออล (Montreal Protocol) ในการที่จะแก้ไขปัญหาชั้นโอโซนถูกทำลาย สหประชาชาติ โดย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) และ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ประกาศผล การประกวดออกแบบศิลปะเพื่อปกป้องชั้นโอโซนและสภาพภูมิอากาศ ระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Regional Ozone2Climate Art Contest) 2021-2022 โดยมี 36 ผลงาน จากนานาประเทศได้รับรางวัล การจัดประกวดในครั้งนี้ใช้เวลา 1 ปี เพื่อที่จะรณรงค์เพิ่มความตระหนักรู้ของสาธารณชนและประชาคมเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับความสำคัญของข้อตกลงเพื่อร่วมกันปกป้องสุขภาพของมวลมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นให้เกิดพลังความร่วมมือทุกภาคส่วน โดยการประกวดเป็นส่วนหนึ่งของ UNEP ในการดำเนินงานของกองทุน Protocol’s Multilateral Fund
รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “การประกวดครั้งนี้ มี 34 ประเทศจากเอเชียและแปซิฟิกเข้าร่วม ซึ่งได้เปิดรับสมัครตั้งแต่ 16 กันยายน ในปีที่ผ่านมา โดย สหประชาชาติ โดย โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme : UNEP) และ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) และ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ปรากฏว่ามีผลงานจากผู้สมัครนานาประเทศกว่า 6,000 ชิ้น ที่ส่งเข้ามาใน 3 ประเภท คือ ภาพวาด (Drawing), กราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design), ภาพถ่าย (Photography) ซึ่งเป็นรอบภายในประเทศ ทั้งนี้ 55% และ 60% ที่ส่งผลงานเข้ามานั้น เป็นเยาวชนและผู้หญิงตามลำดับ ในขั้นตอนสุดท้ายเมื่อเดือนเมษายน 2022 ผลงาน 98 ชิ้น จากประเทศที่เข้าร่วมประกวด ได้รับการเสนอชื่อเข้าสู่การประกวดรอบชิงชนะเลิศในระดับภูมิภาค และได้นำไปลงในเว็บไซต์เพื่อเปิดให้ประชาชนได้โหวตภาพที่ตนชื่นชอบ เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2022”
ผลงานรางวัลชนะเลิศ ประเภททั่วไป (อายุ 15 ปีขึ้นไป)
ในรอบชนะเลิศ ได้รับการพิจารณาจากหน่วยโอโซนแห่งชาติ (National Ozone Unit : NOUs) คณะกรรมการตัดสินระดับภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก UNEP UNESCO และ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วยตัวแทนเยาวชน 1 คน และศิลปินจากประเทศไทย 1 คน ผู้ชนะในรอบชิงชนะเลิศนั้นรวมคะแนนจากการโหวตของ NOUs คะแนนจากคณะกรรมการระดับภูมิภาค และเสียงโหวตจากสาธารณชน ที่มากกว่า 27,000 โหวต
ระหว่างการจัดประกวด ซึ่งใช้ระยะเวลา 1 ปีนั้น UNEP และพันธมิตร ได้จัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อเผยแพร่การประกวดให้สาธารณชนรับทราบ หน่วยงาน OzonAction ด้วยความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาสื่อต่างๆในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพ แบนเนอร์ โปสเตอร์ วีดีโอ ให้คำแนะนำ และเผยแพร่ลงในสื่อ Facebook, Tiktok, Twitter และเว็บไซต์ต่างๆ ทั้งได้รับการสนับสนุนจาก NOUs ในการผนึกความร่วมมือกับประเทศที่เข้าร่วมโครงการ โดยนำเอาวัสดุจาก UNEP ไปพัฒนาเป็นภาษาท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังได้เปิดเว็บไซต์ ชื่อ www.ozone2climate.org ซึ่งเป็นศูนย์กลางรับสมัครผลงานจากผู้สมัครและเป็นเว็บไซต์ที่ให้ประชาชนโหวตคะแนนเข้ามา เว็บไซต์นี้มีผู้เข้าเยี่ยมชมกว่า 36,000 ราย จาก 113 ประเทศทั่วโลก
ชมผลงานและรายชื่อ 36 ผู้ได้รางวัลจากเพจ Hall of Fame สำหรับผลประกวดรางวัลชนะเลิศเอเซีย-แปซิฟิค กลุ่มบุคคลทั่วไป ผู้ได้รับรางวัล 3 ประเภท มีดังนี้ 1. ประเภทภาพวาด (Drawing) ได้แก่ ผลงานชื่อ Saving The Ozone Layer Means Saving Life On Earth โดย ไอ.พี.อาซานก้า โสมาชีวะ จากประเทศศรีลังกา 2. ประเภทกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) ได้แก่ ผลงานชื่อ START NOW โดย อะไพรซัล โยกิ สยาพุตรา จากประเทศอินโดนีเซีย 3. ประเภทภาพถ่าย (Photography) ได้แก่ ผลงานชื่อ Welcome 2050 โดย ฮุยกายี เชกินา โซ อึ้ง จากประเทศมาเลเซีย
สำหรับผลประกวดรางวัลชนะเลิศเอเซีย-แปซิฟิค กลุ่มเยาวชน (อายุต่ำกว่า 15 ปี) มี 3 ประเภท ดังนี้ 1. ประเภทภาพวาด (Drawing) ได้แก่ ผลงานชื่อ Let There Be Shield on Earth โดย เอเดรียน นิโคล สิทจา จากประเทศฟิลิปปินส์ 2. ประเภทกราฟฟิกดีไซน์ (Graphic Design) ได้แก่ ผลงานชื่อ A Seed of Hope โดย เชน่า อัคมัด จากประเทศฟิลิปปินส์ 3. ประเภทภาพถ่าย (Photography) ได้แก่ ผลงานชื่อ Ozone Layer And Climate Protectionโดยชานเชนมีจากประเทศมาเลเซีย
นายเจมส์ เอส เคอร์ลิน (James S. Curlin) หัวน้าฝ่าย OzoneAction โครงการสิ่งแวดล้อมสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่า UNEP ขอปรบมือให้กับผู้ส่งผลงานทุกราย ทั้งผู้ได้รับรางวัลและผู้ที่มีส่วนร่วมส่งผลงานเข้ามา สำหรับความคิดสร้างสรรค์ ความสวยงาม ความหลากหลายและการสื่อสารที่มีผลกระทบจากงานศิลปะ จะเห็นได้ว่าผลงานศิลปะได้สื่อและสะท้อนถึงพลังในการสื่อสาร และตอกย้ำถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อมชั้นโอโซนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ...ผ่านปากกา การระบายสี เลนส์ของกล้อง และดิจิทัลซอฟแวร์ เจ้าของผลงานศิลปะเหล่านี้ได้มีส่วนในการกระตุ้นและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กับประชาชนได้ลงมือปฏิบัติการสนับสนุน ข้อตกลงมอนทรีออล (Montreal Protocol) ดังนั้น UNEP มีความภาคภูมิใจที่จะเผยแพร่ศิลปะที่มีคุณค่าและสวยงามเหล่านี้ไปยังภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ผ่านเว็บไซต์และกิจกรรมต่อไป
นางริกะ โยโซรุ (Rika Yorozu) หัวหน้าสำนักงานบริหาร ยูเนสโก กรุงเทพ กล่าวว่า UNESCO กรุงเทพ มีความปลื้มปิติ ในผลลัพธ์ของการประกวด เราได้เห็นถึงมุมมองที่สะท้อนความคิดและความแตกต่าง ในการปกป้องชั้นโอโซนจากประเทศต่างๆ ล้วนเป็นพลังสร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาที่สงบสุขและยั่งยืน อันเป็นหัวใจสำคัญของภารกิจของ UNESCO เราขอแสดงความยินดีมายังผู้ที่ได้รับรางวัลและขอบคุณผู้มีส่วนร่วมที่ได้ส่งผลงานเข้าร่วม
ประเทศที่จัดประกวด จะเป็นผู้มอบรางวัลแก่ผู้ชนะระดับประเทศของตน ส่วนผู้ได้รางวัลระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะได้รับมอบประกาศนียบัตร และโล่รางวัล
ด้าน นางเดเชน เซอริง (Dechen Tsering) ผู้อำนวยการและผู้แทน สำนักงานภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิก โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) แสดงความยินดีกับผู้ชนะรางวัล กล่าวว่า ผลงานทั้งหมดเป็นที่น่าประทับใจยิ่ง เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจและความหวัง ทั้งผู้ที่ได้รับรางวัลและผู้ที่ส่งผลงาน
No comments