Header Ads

สจล. สถาปัตย์ สานฝันคนไทยหัวใจ EV เปิดหลักสูตรออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า...ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์

4..%E0%B8%A3%E0%B8%96%20EV%20%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%95%204%20%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%20%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3

สจล. สถาปัตย์ สานฝันคนไทยหัวใจ EV เปิดหลักสูตรออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า...ยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ประเทศไทยได้รับฉายาเป็น ดีทรอยต์แห่งเอเชีย และมีศักยภาพในการพัฒนา อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า’ รองรับอนาคต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดยคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ตอบรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เปิดหลักสูตร การออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า สจล. แบบ Non-Degree” เสริมแกร่งงานวิจัยพัฒนาและการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ผลิตกำลังคนสมรรถนะสูงตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืน
รศ. ดร.คมสัน มาลีสี 
อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เราอยู่ในยุคของการเปลี่ยนผ่านจากยานยนต์เชื้อเพลิงสันดาปมาเป็นยานยนต์ไฟฟ้า สจล. โดคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ ได้พัฒนาหลักสูตรการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Non-Degree สอดรับกับเทรนด์ทั่วโลก ซึ่งให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาดและวิกฤตการณ์อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้านับเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตและเทคโนโลยีที่สำคัญ หากแต่ความสนใจเรื่องการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่หรือในระดับอุตสาหกรรมเพื่อการพาณิชย์ ซึ่ง ยานยนต์ไฟฟ้า เป็นเป้าหมายเร่งด่วนของการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ตามยุทธศาสตร์ชาติที่จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมและเทคโนโลยีของประเทศ หลักสูตรออกแบบยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Non-Degree’ ของ สจล.นี้ มุ่งเน้นการพัฒนาทักษะและเพิ่มประสิทธิภาพแก่ผู้เรียน เปิดรับผู้สนใจรุ่นละ 50 คน แต่ละรุ่นจะมีผู้เรียนจากหลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ วิศวกร นักออกแบบ นักเรียนมัธยม นักศึกษา ผู้ประกอบการ นักการตลาด รวมถึงประชาชนทั่วไปที่สนใจยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งได้ดำเนินการผ่านไปแล้ว 5 รุ่น เพื่อสร้างเสริมบุคลากรที่มีสมรรถนะสูงตอบรับกลไกขับเคลื่อนอุตสาหกรรมใหม่ (New Growth Engine) ตามนโยบายของประเทศ Thailand 4.0 พร้อมไปกับส่งเสริมภาคการศึกษาไทยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

2..%20%E0%B8%94%E0%B8%A3.%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B5_%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%B5%20%E0%B8%AA%E0%B8%88%E0%B8%A5.

3.%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%93%20%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%88%E0%B8%A3%20

ปวิณ รุจิเกียรติกำจร อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ
 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า จุดเด่นของ หลักสูตรการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า สจล. คือ การค้นหาเป้าหมายของผู้เรียนได้อย่างตรงจุด ทำให้เกิดการพัฒนากลุ่มผู้นำที่ลงมือทำจริงๆ เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีกลุ่มนักประดิษฐ์ยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอยู่ไม่น้อย รวมถึงกลุ่มชมรมที่ชื่นชอบการดัดแปลงเครื่องยนต์ ได้มีโอกาสมาต่อยอดคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ง่ายและคล่องตัวกับการใช้งานและเป็นเทคโนโลยีที่สามารถจับต้องได้ตรงความต้องการ

1.%E0%B8%AA%E0%B8%88%E0%B8%A5.%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C%20EV%20

หลักสูตรการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า แบบ Non-Degree’ สจล. สถาปัตย์ฯ เน้นการผสานประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีอยู่ รวมเข้ากับไอเดียการออกแบบและการปรับใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้มากที่สุด ทำให้เกิดเป็นผลงานนวัตกรรมที่สามารถใช้ได้จริง ผู้เรียนจะได้พัฒนาองค์ความรู้หลักการออกแบบ สามารถเลือกออกแบบประเภทยานยนต์ได้ตามความต้องการและความถนัด หรือฟังก์ชันการใช้งานเฉพาะทางของแต่ละบุคคล อาทิ สกู๊ตเตอร์ มอเตอร์ไซค์ รถยนต์ เรือไฟฟ้า และอื่นๆ รวมถึงรูปลักษณ์ดีไซน์และวิศวกรรมโครงสร้างยานยนต์ในแต่ละประเภทเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประวัติศาสตร์และประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนความรู้เบื้องต้นด้านเครื่องยนต์ไฟฟ้า

6...%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%20%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%209.%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B3%20

การเรียนจะแบ่งเป็นทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ใช้เวลาเรียนทุกๆ วันเสาร์ ระยะเวลา 4 เดือน มีอาจารย์จากทั้งภายในคณะและอาจารย์พิเศษที่อยู่ในภาคธุรกิจ เมื่อสำเร็จการฝึกอบรมจะได้รับ Certificate ผลจากการระดมความคิดและเวิร์คชอปตามหลักสูตรที่ผ่านมาได้สร้าง 3 นวัตกรรมให้กลายเป็นจริง ได้แก่ มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารถสามล้อเครื่อง และ รถ 4 ล้อ ต้นแบบยานยนต์ไฟฟ้าแห่งอนาคตที่เหมาะกับการใช้ในสถานที่ท่องเที่ยวในภูมิประเทศที่แตกต่างกัน

นอกจากนี้ หลักสูตรการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า สจล. สถาปัตย์ฯ ยังพัฒนาศักยภาพบุคคล เพิ่มความรู้และทักษะ Soft-Skills เช่น การเรียนรู้การวิจัยการหาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง, หลักการทำ Desktop Research, วิธีการนำเสนอผลงาน เป็นต้น เพื่อให้ผู้เรียนก้าวสู่ความเป็นมืออาชีพ ยกระดับมาตรฐานเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในชุมชน ธุรกิจขนาดเล็ก (SMEs) ที่ต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ และก้าวสู่การเป็นสตาร์ทอัพต่อไปในอนาคต
ผู้สนใจสมัครเรียนหลักสูตรการออกแบบยานยนต์ไฟฟ้า สจล. สถาปัตย์ฯ ดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ https://www.aad.kmitl.ac.th โทร 089-376-0427

5.%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%20

No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.