Header Ads

ไอเป็นเลือด อาจเป็นเรื่องร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้ ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่อง กล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

 cover_%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%94%20%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89


ไอเป็นเลือด อาจเป็นเรื่องร้ายแรงถึงเสียชีวิตได้

 ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่อง

กล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล

ภาวะไอเป็นเลือด อาจเป็นเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรง อย่างไรก็ตามเราจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์โดยละเอียดเสียก่อน  อาการไอเป็นเลือดนั้นมักเกิดจากที่เส้นเลือดที่เลี้ยงบริเวณหลอดลม มีอาการอักเสบและแตก โดยความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณของเลือดที่ออกมา โดยส่วนมากมักเริ่มมาจากมีเสมหะปนเลือดจนกระทั่งออกมาเป็นแก้ว หรือมีปริมาณมาก ๆ จนน่าตกใจ ซึ่งเมื่อไรก็ตามที่มีภาวะไอเป็นเลือดและมีเลือดออกมากกว่า 200 มิลลิตรต่อครั้ง ถือว่ามีความเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตได้ เนื่องจากผู้ป่วยมีโอกาสสำลักและติดเชื้อได้มากขึ้น
%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%941

ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย ศัลยแพทย์ทรวงอกเฉพาะทางด้านผ่าตัดส่องกล้องจากโรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า ในยุคปัจจุบันปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ยังคงเป็นปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดอาการไอ ปอดติดเชื้อ จนไปถึง ไอเป็นเลือดได้ นอกจากปัญหาเรื่องฝุ่น สาเหตุของโรคนั้นอาจเป็นได้จาก หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดติดเชื้อ หรือ วัณโรคปอด จนไปถึงมะเร็งปอด โดยหน้าที่ของแพทย์นั้น คงต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ฉะนั้นการวินิจฉัยต้องเริ่มตั้งแต่การซักประวัติ จนไปถึงการทำเอกซเรย์ปอดและการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เพื่อรักษาให้ตรงจุดได้

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%943

การรักษาโรคไอเป็นเลือดนั้น โดยส่วนมากทำได้เพียงแค่ประคับประคอง เพื่อให้เส้นเลือดที่มีอาการอักเสบหยุดไปเอง แต่อย่างไรก็ตามในรายที่มีอาการไอเป็นเลือดที่รุนแรง อาจมีความจำเป็นต้องส่องกล้องไปหยุด (Bronchoscope) หรือทำการอุดหลอดเลือด (embolization) ในกรณีที่อุดหลอดเลือดไม่สำเร็จ การผ่าตัดจะเข้ามามีบทบาทในการรักษาอาการไอเป็นเลือด ซึ่งเป็นวิธีการรักษาสมัยใหม่ในปัจจุบัน

  การพัฒนาของเทคนิคการผ่าตัดปอดปัจจุบันนั้น มีหลากหลายรูปแบบ ถึงแม้หลักการจะคล้าย ๆ กัน แต่อุปกรณ์ที่ใช้หรือเทคนิคในการผ่าตัดจะมีความแตกต่างกัน การผ่าตัดแบบเปิดมักจะใช้เครื่องขนาดที่มือจับได้ มีบาดแผลขนาดใหญ่ ต้องใช้เครื่องไปถ่างขยายแผลบริเวณซี่โครงเพื่อเข้าไปทำการผ่าตัดปอด แต่การผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง ศัลยแพทย์จะมีแต่เครื่องมือที่ใส่เข้าไประหว่างช่องซี่โครงแทน  ขอบเขตการให้บริการการผ่าตัดผ่านกล้องหรือที่เรียกว่า (VATS) Video assisted thoracoscopic surgery   ถึงแม้การผ่าตัดส่องกล้องปอดจะค่อนข้างมีความหลากหลาย  โดยเทคนิคเริ่มตั้งแต่การผ่าตัด แบบ 3-4 จุดจนมาถึงปัจจุบันที่มีการทำผ่าตัดส่องกล้องปอดโดยเทคโนโลยีขั้นสูงแบบจุดเดียวหรือที่เรียกว่า Uniportal video assisted thoracoscopic surgery คือการผ่าตัดผ่านกล้อง ขนาด 3.5 เซนติเมตร แบบจุดเดียว โดยอุปกรณ์ทั้งหมด จะเข้าไปอยู่ในช่องเดียว และมองผ่านทางจอวีดีทัศน์ขณะทำการผ่าตัด โดยเป้าหมายนี้ทำเพื่อหลีกเลี่ยงการเจาะผ่านหลายจุดและทำลายเนื้อเยื่อของร่างกายให้น้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องพักฟื้นเป็นเวลานาน ซึ่งผู้ใดก็ตามที่มีอาการไอเป็นเลือด หรือ กำลังเข้ารับการผ่าตัดปอด  สามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่เพจเฟซบุ๊กผ่าตัดปอดโดยนายแพทย์ศิระหรือ Lineid:@lungsurgeryth        

%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%942

No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.