Header Ads

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ผนึกสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทยหนุน SRO

เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย ผนึกสมาคม


ผู้ประเมินมูลค่า


ทางสังคมไทยหนุน SROI


ชวนภาคธุรกิจวัดผลกระทบทางสังคม สร้างผลลัพธ์


ควบคู่ความ


ยั่งยืน


กรุงเทพฯ 24 เมษายน 2567


บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ "FPT" ผู้นำอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรรายแรกของประเทศไทยปูทางภาคเอกชนยกระดับการดำเนินงานเพื่อสังคม มุ่งสร้างคุณค่าที่ยั่งยืน เปิดความสำเร็จ 2 โครงการคุณภาพ “C-asean Samyan CO-OP” และ “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” ต้นแบบการดำเนินงานเพื่อสังคมที่สร้างผลลัพธ์ผ่านการประเมินตามแนวทาง SROI หวังสร้างมาตรฐานใหม่ให้ภาคธุรกิจ พร้อมสนับสนุนการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

นายสาริษฐ์ ไตรโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและแบรนด์ดิ้ง บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ ได้นำจุดแข็งและความเชี่ยวชาญของธุรกิจมาพัฒนาโครงการเพื่อสังคม และให้ความสำคัญกับการประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน หรือ SROI (Social Return on Investment) เพราะช่วยยกระดับการสร้างคุณค่าให้สังคม โดยบริษัทฯ นับเป็นผู้นำของภาคเอกชนในการวัดผลกระทบเชิงลึกจากการดำเนินงานเพื่อสังคม ที่ผ่านมาได้ส่ง C-asean Samyan CO-OP พื้นที่แห่งการแบ่งปันเพื่อการเรียนรู้ของทุกคน เข้าประเมิน SROI พบว่า ทุกการลงทุน 1 บาทในโครงการก่อให้เกิดผลตอบแทนทางสังคม 3.5 บาท และล่าสุดกับโครงการ “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” ที่สามารถสร้างผลตอบแทนทางสังคม 4.5 บาท หรือให้ผลตอบแทนจากการลงทุน 4.5 เท่า

โครงการ “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” เป็นกิจกรรมรับบริจาคโลหิตที่จัดในพื้นที่สามย่านมิตรทาวน์ เพื่อส่งต่อให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ดำเนินการมาตั้งแต่พ.ศ. 2563 เป็นการสนับสนุนการจัดหาโลหิตในช่วงโควิด-19 สำหรับเป็นโลหิตสำรองคงคลังให้กับผู้ป่วยทั่วประเทศ และเดินหน้าโครงการต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

“บริษัทฯ สามารถระดมโลหิตให้กับสภากาชาดไทยได้ถึง 5,543,350 ซีซี ความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาจากการวางระบบที่มีประสิทธิภาพ ผ่านการให้ลงทะเบียนออนไลน์ล่วงหน้า ส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือให้ข้อมูลการรับบริจาคโลหิตสำหรับผู้ที่เคยมาบริจาคแล้ว ขณะที่ในวันงานจะมีพนักงานอาสาของบริษัทฯ มาสอบถาม คัดกรอง และให้คำแนะนำการเตรียมตัวสำหรับผู้ที่สนใจ ทำให้ยอดผู้ที่ต้องการบริจาคโลหิตแต่ไม่สามารถบริจาคได้มีจำนวนลดลง และช่วยเพิ่มปริมาณโลหิตให้กับสภากาชาดไทยอีกด้วย” นายสาริษฐ์กล่าวเสริม

การประเมินผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนสำหรับโครงการ “มิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กัน” สามารถสร้างคุณค่าทางสังคม ได้ดังนี้

1. ผู้บริจาคโลหิต: ได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ ทำให้รับรู้สัญญาณของโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วยลดค่าใช้จ่ายการดูแลสุขภาพระยะยาว

2. อาสาสมัคร: มีความภูมิใจในชีวิตและการทำงาน ได้เสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ทั้งการสื่อสาร การจัดการกิจกรรม และการทำงานเป็นทีม พร้อมทั้งสร้างเครือข่ายทางสังคม

3. ร้านค้าหรือชุมชนรอบข้าง: มียอดขายเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของการเยี่ยมชมและการใช้จ่ายในพื้นที่ รวมถึงมีความสุขจากการร่วมทำบุญสมทบกับการรับบริจาคโลหิต

4. ศูนย์บริการโลหิต: มีปริมาณโลหิตเพิ่มขึ้น ประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นหากต้องลงทุนในการหาและจัดหาโลหิตเอง

5. เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทย: เกิดความภักดีต่อองค์กรของพนักงาน พร้อมขยายการรับรู้แบรนด์ในวงกว้าง

นอกจากนั้น การดำเนินงานยังเชื่อมโยงและตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs ในเป้าหมายที่ 3 สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี จากการช่วยเพิ่มการเข้าถึงโลหิต มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวม และเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นการผนึกกำลังของภาคธุรกิจ องค์กรด้านสุขภาพ องค์กรทางสังคม และรัฐบาล ในการสนับสนุนการบริจาคโลหิตจากประชาชนด้วยความสมัครใจ

นางสาวสกุลทิพย์ กีรติพันธวงศ์ กรรมการและเลขาธิการสมาคมผู้ประเมินมูลค่าทางสังคมไทย ให้ข้อมูลว่า การประเมิน SROI จะทำให้ทราบถึงผลกระทบในทุกมิติที่เกิดขึ้นกับผู้มีส่วนได้เสีย เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เห็นภาพการดำเนินงานชัดเจนมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การสื่อสารประเด็นด้านผลกระทบอย่างเป็นรูปธรรมและจับต้องได้ โดยผลการประเมินของโครงการสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและปรับปรุงโครงการที่ดำเนินการอยู่ให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และเป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาโครงการใหม่ ๆ ให้เกิดศักยภาพในการแก้ปัญหาและช่วยสร้างคุณค่าให้กับสังคม

“โครงการมิตรให้โลหิต ต่อชีวิตให้กันของเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ประเทศไทยเป็นการรับบริจาคโลหิตที่รุกเข้าหากลุ่มเป้าหมาย พร้อมด้วยการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความร่วมมือกับชุมชนโดยรอบ ควบคู่ไปกับการสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานอาสาในการร่วมดูแลสังคม สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการบริจาคโลหิตรูปแบบแบบเดิม ๆ แสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นของการดำเนินงานที่สามารถสร้างผลตอบแทนทางสังคมไปให้กับทุกภาคส่วน ซึ่งสามารถเป็นโมเดลให้กับหน่วยงานอื่นในการต่อยอดหรือขยายผลต่อไปได้" นางสาวสกุลทิพย์กล่าวปิดท้าย

No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.