Header Ads

สูงวัยหัวใจยัง WORK ปี 2 ‘ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น เห็นค่าในตนเอง’

สูงวัยหัวใจยัง WORK ปี 2 ‘ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น เห็นค่าในตนเอง’

“สื่อเปลี่ยน ผู้สูงอายุปรับ ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น เห็นค่าในตนเอง สร้างประโยชน์ให้กับสังคม” วัตถุประสงค์หลัก เพื่อสานต่อพันธกิจในด้านการดําเนินโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้สูงอายุ, การนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรง มีความกระฉับกระเฉงในการดําเนินชีวิตประจําวัน และมีความสัมพันธ์ที่ดีและมีส่วนร่วมทํากิจกรรมกับคนในครอบครัว ชุมชน อีกทั้งมีความสามารถสร้างผลผลิตเพื่อ ความมั่นคงทางรายได้เพื่อการดํารงชีพของตนเอง รวมทั้งสามารถสร้างผลผลิตในชุมชน และสามารถใช้เทคโนโลยีดีจิทัล ในการดํารงชีวิตประจําวันได้อย่างปลอดภัย

ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์และพฤติกรรมการบริโภคสื่อของผู้สูงอายุได้ เปลี่ยนไปอย่างมาก มีการเข้าถึงข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้น จากข้อค้นพบของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย ที่ระบุว่า ผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 60 – 70 ปี และ ช่วงอายุ 50 – 59 ปี เข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ต เฉลี่ย 2 – 3 ชั่วโมง ต่อวัน และ ช่วงอายุ 50 – 54 ปีที่กําลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ ใช้งานอินเทอร์เน็ตเฉลี่ยสูงถึง 4 – 5 ชั่วโมง ต่อวัน

โดยมักจะใช้ในการสนทนา การติดตามข้อมูลข่าวสาร สืบค้นข้อมูลและโพสต์ข้อความ รวมไปถึงมีการรับ- ส่งอีเมล ซื้อสินค้าออนไลน์ และทําธุรกรรมทางการเงินผ่านแอปพลิเคชัน ในระดับที่เพิ่มขึ้นทุกปี จากข้อค้นพบดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า ผู้สูงอายุยอมรับที่จะใช้เทคโนโลยีผ่านกิจกรรมการดําเนินชีวิตประจําวันมากขึ้น

ทั้งใช้ในการติดตามข่าวสาร หาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนในครอบครัว เพื่อน ชุมชน รวมทั้งชุมชน ออนไลน์ สามารถแสวงหาความบันเทิงจากสื่อออนไลน์มาใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจได้ แสดงให้เห็นว่าสื่อออนไลน์ เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งของการดํารงชีวิตประจําวันของผู้สูงอายุ และผู้ที่จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุมากขึ้น

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้เล็งเห็นถึงความสําคัญในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และมีส่วนสําคัญต่อประเทศเป็นอย่างมาก จึงได้ดําเนินโครงการ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก ปี 2 ” เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ ในการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เสริมสร้างในการดําเนินชีวิตประจําวัน ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีและมีส่วนร่วมกับครอบครัว ชุมชน และสังคม สามารถปรับตัวนําเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาเสริมสร้างคุณภาพชีวิตสร้างรายได้ และสร้างผลผลิตให้สังคมได้

ทั้งนี้การสะท้อนจากผลของโครงการในปีที่ 1 มีผู้เข้าร่วมอบรมกว่า 50 คน และ ลงพื้นที่บ่มเพาะจนเกิดความเข้าใจ ให้ทําได้และใช้เป็น ‘กระบวนการนี้นอกจากผมจะชื่นชมผู้สูงวัยที่ร่วมโครงการทุกท่านแล้วที่ขาดไม่ได้เลยคือ น้อง ๆ ที่เป็น “Digital Buddy” ที่มีความพร้อมในการให้คําปรึกษาและสนับสนุน เสมือนลูกหลานที่คอยช่วยเหลือผู้ร่วมกิจกรรมให้ก้าวข้ามอุปสรรค ในการพัฒนาทักษะทางดิจิทัล เป็นหน่วยสนับสนุนร่วมบ่มเพาะ จนเกิดต้นแบบที่เป็น องค์ความรู้กลับคืนสู่สังคมจึงนํามาสู่การสานต่อและขยายผลในโครงการ ปี 2

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สูงอายุ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนให้เกิดนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อไป ทุกข้อคิดเห็น ทุกข้อเสนอแนะ มีคุณค่าและความสําคัญต่อการพัฒนาภารกิจของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ต่อไป’

ภายในงานยังมีวงเสวนา “สื่อเปลี่ยน ผู้สูงอายุปรับ ผลิตสื่อได้ ใช้สื่อเป็น เห็นค่าในตนเอง สร้างประโยชน์ให้กับสังคม” โดยมีผู้ร่วมเสวนา อาทิ คุณอนุชิต มณีชัย นักพากย์สารคดีและคอนเทนต์ครีเอเตอร์ สอนอ่านหนังสือเสียง, คุณอนุสร ตันเจริญ คอนเทนต์ ครีเอเตอร์ Food Blogger, คุณเพชรี พรหมช่วย สื่อมวลชนอาวุโส และ คอนเทนต์ครีเอเตอร์สอนโยคะออนไลน์, คุณเทินพันธ์ แพนสมบัติ ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์สําหรับประชาชน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

ติดตามข้อมูลข่าวสารกิจกรรมได้ที่
FACEBOOK: กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
FACEBOOK: สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก
TikTok: สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก

No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.