นักวิทยาศาสตร์เผย การบริโภคอาหารแพลนต์เบสช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตและอาการป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19
นักวิทยาศาสตร์เผย การบริโภคอาหารแพลนต์เบสช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตและอาการป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19
บทความใหม่ที่ตีพิมพ์ใน European Journal of Clinical Nutrition เผยว่า "อาหารแพลนต์เบสและไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่อาจช่วยชะลอกระบวนการแก่ชรา ลดภาวะ โรคเรื้อรังร่วมหลายโรคในผู้สูงอายุ และลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตและการป่วยรุนแรงจากโรคโควิด-19"
Hana Kahleova ผู้อำนวยการฝ่ายการทำวิจัยและ Neal D. Barnard ประธานคณะกรรมการของ Physicians Committee for Responsible Medicine (PCRM) ซึ่งร่วมกันเขียนบทความดังกล่าว ได้วิเคราะห์งานวิจัยใหม่ๆ หลายฉบับเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนว่าแสดงให้เห็นถึงการติดเชื้อโควิดอย่างไร พวกเขากล่าวว่าอาหาร แพลนต์เบส "เป็นแนวทางป้องกันโรคโควิด-19 ที่คุ้มค่าที่สุด และควรได้รับการส่งเสริมให้นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน" เพื่อบรรเทาโรคโควิด-19
"ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราได้เน้นย้ำมาตลอดว่าการรับประทานอาหารแพลนต์เบส สามารถช่วยป้องกันและแม้แต่ รักษาโรคบางโรคได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวานชนิดที่สอง หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่" ชิสากัญญ์ อารีพิพัฒน์ ผู้จัดการโครงการท้าลอง 22 วัน จากซิเนอร์เจีย แอนิมอล องค์กรพิทักษ์สัตว์สากลที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้คนหันมา รับประทานอาหารแพลนต์เบส กล่าว
"เราพบว่าการรับประทานอาหารแพลนต์เบสไม่เพียงแต่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับโรคเรื้อรังต่างๆ แต่ยัง รวมถึงโรคระบาดโควิด-19 ด้วย ซึ่งเป็นสองความท้าทายด้านสาธารณะสุขที่หนักที่สุดที่เรากำลังเผชิญอยู่ทั่วโลก" ชิสากัญญ์ กล่าวต่อ
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ล่าสุด
หนึ่งในงานวิจัยที่ครอบคลุมที่สุดในปัจจุบันโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) และคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน (King's College London) เผยว่าอาหารแพลนต์เบสที่ดีต่อสุขภาพมีความเชื่อมโยงกับโอกาสการติดเชื้อโควิด-19 ที่น้อยลงถึง 9 เปอร์เซ็นต์ และอาการป่วยรุนแรงจากโควิด-19 น้อยลง 41 เปอร์เซ็นต์ โดยงานวิจัยเก็บข้อมูลจาก 600,000 คนมาวิเคราะห์
งานวิจัยอีกหนึ่งฉบับโดยนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (John Hopkins University) ซึ่งเป็นหนึ่งใน มหาวิทยาลัยสาธารณสุขที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลก ประเมินเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่มีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วยโควิด-19 เป็นจำนวนมากจาก 6 ประเทศ ผลลัพธ์ชี้ว่า กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่รับประทานเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นมวัว ที่ น้อยกว่ารวมถึงบริโภคผักและผลไม้มากกว่ามีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ระดับปานกลางถึงรุนแรงน้อยลงถึง 73 เปอร์เซ็นต์
งานวิจัยยังได้เน้นย้ำถึงความเชื่อมโยงระหว่างภาวะเรื้อรังเช่น โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน กับความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ที่สูงขึ้น "ภาวะเรื้อรังเหล่านี้สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการบริโภคอาหาร และงานวิจัยก็ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าอาหารแพลนต์เบสเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับทุกโรคที่กล่าวมา" ชิสากัญญ์ อธิบาย
หลักฐานที่โดดเด่นที่สุดบางส่วนแสดงให้เห็นว่า "อาหารแพลนต์เบสอาจลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ได้ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ และความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ 29 เปอร์เซ็นต์" งานวิจัยฉบับเดียวกันนี้ ยังชี้ว่าความเสี่ยงของการเกิดภาวะเมแทบอลิค ซินโดรมและโรคเบาหวานชนิดที่สองลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง
ซิเนอร์เจีย แอนิมอลมีโครงการฟรีเพื่อส่งเสริมผู้คนให้รับประทานอาหารแพลนต์เบส
"ตั้งแต่โรคระบาดโควิด-19 เกิดขึ้น เราสังเกตุเห็นว่าผู้คนเปิดใจที่จะมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น และนั่นรวมถึง พฤติกรรมการรับประทานอาหารของพวกเขาด้วย" ชิสากัญญ์ กล่าว ในประเทศไทยเพียงประเทศเดียว 38,164 คน ได้ลงทะเบียนเข้าร่วม โครงการท้าลอง 22 วัน ตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคดังกล่าว
ผู้เข้าร่วมจะได้รับอีเมลรายวันที่มีเคล็ดลับ สูตรอาหาร และข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับอาหารแพลนต์เบสที่พวกเขาจำเป็นต้องรู้ "เรายังมีผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการที่คอยตอบคำถาม และส่งเสริมให้ผู้คนเข้าร่วมกลุ่มที่ประกอบไปด้วยอาสาสมัคร รวมถึงผู้ที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการมาแล้ว ที่จะคอยช่วยเหลือผู้เข้าร่วมใหม่เพื่อทำให้ไลฟ์สไตล์ใหม่นี้เป็นไปอย่างราบรื่น ที่สุด" ชิสากัญญ์ อธิบาย "ทุกคนสามารถเข้าร่วม เมื่อไหร่ก็ได้ โดยลงทะเบียนได้ที่ thaichallenge22.org/"
เกี่ยวกับซิเนอร์เจีย แอนิมอล
ซิเนอร์เจีย แอนิมอล เป็นองค์กรพิทักษ์สัตว์ระดับสากลที่ปฏิบัติงานในกลุ่มประเทศ Global South เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของสัตว์ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารและส่งเสริมทางเลือกอาหารที่แสดงถึงความเห็นอกเห็นใจต่อสัตว์ เราได้รับการจัดอันดับโดย Animal Charity Evaluators (ACE) ให้เป็นหนึ่งในองค์กรพิทักษ์สัตว์ที่ทำงานได้มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก
No comments