ระบบกักเก็บพลังงานของไพลอนเทค ช่วยญี่ปุ่นก้าวสู่เป้าหมายการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ ตามแผนปฏิบัติการ "Beyond Zero"
บริษัท ไพลอน เทคโนโลยีส์ จำกัด (Pylon Technologies Co., Ltd.) (ต่อจากนี้เรียกว่า “ไพลอนเทค”) ได้รับเครื่องหมายรับรอง S-Mark ของญี่ปุ่น หลังผ่านการทดสอบมาตรฐาน JIS C 8715-2: 2019 จากทียูวี ไรน์แลนด์ เจแปน (TUV Rheinland Japan) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการตรวจสอบและรับรองที่น่าเชื่อถือในประเทศญี่ปุ่น โดยหลังจากที่เซลล์กักเก็บพลังงานความจุ 37Ah (รุ่น: 37PN) ผ่านการทดสอบความปลอดภัยจากแผ่นดินไหวมาแล้วก่อนหน้านี้ ล่าสุดไพลอนเทคได้รับเครื่องหมายรับรอง S-Mark ของญี่ปุ่น สำหรับระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี Force-H2
ไพลอนเทคเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นในปี 2559 และการจัดส่งสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการการรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ในตลาดญี่ปุ่น ไพลอนเทคจึงได้เข้ารับการทดสอบและผ่านการรับรองมาตรฐานต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนินงานด้านการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของบริษัท เซลล์ลิเธียมเฟอร์โรฟอสเฟต (LFP) ความจุ 37Ah (รุ่น: 37PN) ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน JET ของญี่ปุ่น และใบรับรองต่าง ๆ จากทียูวี ไรน์แลนด์ เจแปน ได้ถูกนำไปติดตั้งใช้งานในระบบแบตเตอรี่และโมดูลของไพลอนเทค และไพลอนเทคคาดว่าในปี 2565 นี้ บริษัทจะได้รับการรับรอง JET จากการทดสอบมาตรฐาน JIS C 8715-2:2019 สำหรับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกหลายรายการ
ด้วยห่วงโซ่อุตสาหกรรมครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ไพลอนเทคจึงเป็นหนึ่งในบริษัทโซลูชันการกักเก็บพลังงานไม่กี่แห่งในโลกที่มีการวิจัยและพัฒนาที่เป็นอิสระ และมีความสามารถในการผลิตส่วนประกอบหลักสำหรับโซลูชันการกักเก็บพลังงาน เช่น เซลล์ โมดูล ระบบการจัดการแบตเตอรี่ และระบบการจัดการพลังงาน ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ไพลอนเทคได้จัดหาระบบกักเก็บพลังงานที่เสถียรและเชื่อถือได้ให้แก่ผู้ใช้งานตามบ้านมากกว่า 350,000 รายในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก คิดเป็นปริมาณความจุรวม 3.6 GWh ทั้งนี้ ข้อมูลจากไอเอชเอส มาร์กิต (IHS Markit) ผู้ให้บริการข้อมูลและการวิเคราะห์ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในลอนดอน ระบุว่า ในปี 2563 ไพลอนเทคติดอันดับที่สองของโลกในการจัดส่งผลิตภัณฑ์กักเก็บพลังงานในที่อยู่อาศัย โดยคุณภาพที่มั่นคงและประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จอย่างต่อเนื่องของไพลอนเทค
เมื่อเดือนตุลาคม 2563 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ หน่วยงานของรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ ในการส่งเสริมให้ครัวเรือนหันมาใช้แหล่งพลังงานใหม่ นอกเหนือไปจากนโยบายให้เงินอุดหนุนแก่ครัวเรือนที่ดำเนินการปรับปรุงบ้านให้ใช้พลังงานสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรีลิเธียมตอบโจทย์ เพราะสามารถใช้งานได้จริง อีกทั้งยังช่วยประหยัดรายจ่ายได้เป็นอย่างมาก
การเพิ่มประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ และการจัดหาระบบที่เสถียรและเชื่อถือได้มากที่สุด คือหลักการที่ไพลอนเทคยึดถือมาโดยตลอด “ในปี 2565 ไพลอนเทคมีความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มธุรกิจการกักเก็บพลังงานในญี่ปุ่น และเร่งผลักดันความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการ ‘Beyond-Zero’ Carbon ของรัฐบาล” เจฟฟรีย์ ซง (Geoffrey Song) รองประธานธุรกิจระหว่างประเทศของบริษัท กล่าว
รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1751444/1.jpg
รูปภาพ: https://mma.prnewswire.com/media/1751445/2.jpg
คำบรรยายภาพ: ที่มา: รายงานการทดสอบแบตเตอรีโดยไอทีพี ประจำปี 2564 (ITP Battery Testing Report 2021)
No comments