Header Ads

แอสตร้าเซนเนก้า ใกล้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ จากโครงการพัฒนาอุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่ ภายใต้ความร่วมมือกับฮันนี่เวลล์

 

แอสตร้าเซนเนก้า ใกล้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

จากโครงการพัฒนาอุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่ ภายใต้ความร่วมมือกับฮันนี่เวลล์

อุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่จะช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เกือบเป็นศูนย์ 

แอสตร้าเซนเนก้ายังประกาศใช้กระแสไฟฟ้าทั้งหมดจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน

พร้อมตั้งเป้าหมายใหม่ด้านความยั่งยืนสำหรับเครือข่ายซัพพลายเออร์

แอสตร้าเซนเนก้าและ ฮันนี่เวลล์ จะร่วมมือกันพัฒนาอุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่โดยใช้สารขับดันชนิด HFO-1234ze ซึ่งมีค่าศักยภาพในการทําให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential หรือ GWP) ต่ำกว่าสารขับดันทั่วไปซึ่งมีการใช้ในเภสัชภัณฑ์สำหรับโรคระบบทางเดินหายใจถึง 99.9%1

บริษัท ฯ ประกาศความร่วมมือดังกล่าวพร้อมกับการเผยแพร่รายงานด้านความยั่งยืนประจำปีของแอสตร้าเซนเนก้า และแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าของ Ambition Zero Carbon ซึ่งเป็นโครงการด้านความยั่งยืนหลักขององค์กรในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ทั้งนี้ รายงานด้านความยั่งยืน ประจำปี 2565 ได้ระบุว่าพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดของแอสตร้าเซนเนก้าที่นำมาใช้นั้นมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน และบริษัทฯ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (Scope 1) และทางอ้อม (Scope 2) ได้ถึง 59% นับตั้งแต่ปี 2558 โดยเป็นการคำนวณรวมคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของ Alexion ด้วย

นายปาสกาล โซริออท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแอสตร้าเซนเนก้า กล่าวว่า “แอสตร้าเซนเนก้ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในการผลักดันบริษัทสาขาต่าง ๆ ทั่วโลกให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2568 และตั้งเป้ามีห่วงโซ่ธุรกิจที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนในอัตราติดลบภายในปี 2573 ความร่วมมือของแอสตร้าเซนเนก้ากับ ฮันนี่เวลล์ ได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถเปลี่ยนชีวิตผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม”

ดาเรียส อดัมซิค ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ ฮันนี่เวลล์ กล่าวว่า “ความร่วมมือของฮันนี่เวลล์ และแอสตร้าเซนเนก้าในโครงการพัฒนาอุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่ ซึ่งใช้สารขับดันที่มีค่า GWP เกือบเป็นศูนย์ มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ เรามีเป้าหมายที่จะลดปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกจากการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยปราศจากการจำกัดทางเลือกในการรักษาหรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านสุขภาพของผู้ป่วย”

อุปกรณ์สูดพ่นยารุ่นใหม่
ผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease หรือ COPD) ส่วนใหญ่ต้องพึ่งพายาสูดพ่น2 และหลายคนใช้อุปกรณ์สูดพ่นยาขยายหลอดลมชนิดฝอยละอองของเหลว (Pressurized metered dose inhalers หรือ pMDIs)2 ซึ่งมีการใช้ก๊าซเรือนกระจกเป็นสารขับดันเพื่อนำส่งยาเข้าสู่ปอดของผู้ใช้ 3

ผลล่าสุดจากการทดลองครั้งแรกในมนุษย์ระยะที่ 1 ซึ่งใช้สารขับดันชนิด HFO-1234ze ที่มีค่าก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential หรือ GWP) เกือบเป็นศูนย์ ในยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดฝอยละอองของเหลวหรือ pMDIs ซึ่งมี Budesonide, Glycopyrronium และ Formoterol fumarate เป็นสารประกอบ พบว่ามีผลเชิงบวกจากการใช้ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี โดยพบว่ามีความปลอดภัย ความทนต่อยาและการดูดซึมของสารองค์ประกอบเข้าสู่ร่างกายในระดับที่ใกล้เคียงกับการใช้ยา Breztri Aerosphere (ซึ่งมี Budesonide, Glycopyrronium และ Formoterol fumarate เป็นองค์ประกอบ) แอสตร้าเซนเนก้าคาดว่ายา Breztri จะเป็นยาชนิดแรกที่จะมีการพัฒนาใช้แพลตฟอร์ม pMDI แบบใหม่ ซึ่งจะมีการยื่นขึ้นทะเบียนเพื่อการอนุมัติทะเบียนยาในลำดับต่อไป ทั้งนี้นอกจากยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดฝอยละอองของเหลวหรือ pMDIs รุ่นใหม่ แอสตร้าเซนเนก้ายังจะเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมยาสูด ชนิดผงแห้งอีกด้วย

โรคระบบทางเดินหายใจส่งผลกระทบต่อประชากรจำนวนหลายร้อยล้านคนทั่วโลก โดยพบว่าในทางการแพทย์มีความต้องการยาสูดพ่นขยายหลอดลมชนิดฝอยละอองของเหลวหรือ pMDIs ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วย-9 โดยความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ สมรรถภาพปอดที่ลดลง และระดับอายุของผู้ป่วยทั้งในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญประกอบการพิจารณาเลือกอุปกรณ์ยาสูดพ่นที่เหมาะสมที่สุด5-9

การกำหนดเป้าหมายด้านผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนให้แก่เครือข่ายซัพพลายเออร์ โดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นเกณฑ์
แอสตร้าเซนเนก้าถือเป็นหนึ่งใน 7 บริษัทแรกของโลกที่มีเป้าหมายให้ปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ขององค์กร ผ่านการตรวจสอบและยืนยันโดยโครงการกำหนดเป้าหมายโดยอิงหลักวิทยาศาสตร์ (Science Based Targets initiative หรือ SBTi) ว่าสอดคล้องกับมาตรฐานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ขององค์กร(Corporate Net Zero Standard) ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกขององค์กร แอสตร้าเซนเนก้ามุ่งผลักดันให้ 95% ของเครือข่ายซัพพลายเออร์และพันธมิตรทางธุรกิจ มีเป้าหมายที่ใช้วิทยาศาสตร์เป็นเกณฑ์เช่นเดียวกัน ภายในสิ้นปี 2568

แอสตร้าเซนเนก้าแบ่งปันข้อมูลจากประสบการณ์ด้านการลดปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกขององค์กร โดยบริษัทเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Energize โปรแกรมซึ่งเปิดตัว ณ การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) อันมุ่งเน้นการยกระดับการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนสำหรับซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมยา และ Sustainable Markets Initiative (SMI) Health System Taskforce โครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนของระบบบริการสุขภาพในกลุ่มประเทศต่างๆ ซึ่งมุ่งขับเคลื่อนให้เกิดระบบบริการสุขภาพที่มีปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของแอสตร้าเซนเนก้าในปี 2564 ในรายงานด้านความยั่งยืน และข้อมูลด้านความยั่งยืน ซึ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านมา

เกี่ยวกับ Energize

แอสตร้าเซนเนก้าคือหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Energize โปรแกรมริเริ่มเพื่อยกระดับการเข้าถึงแหล่งพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนของเครือข่ายซัพพลายเชนในเภสัชอุตสาหกรรม โดยเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทเภสัชภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่สุด 10 บริษัท เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนโดยซัพพลายเออร์ในอัตราสูง โปรแกรม Energize จะช่วยให้ซัพพลายเออร์ของแอสตร้าเซนเนก้าสามารถลดปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope2) อันจะส่งผลให้ปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Scope 3) ของแอสตร้าเซนเนก้าลดลง โดยโปรแกรม Energize จะมีส่วนช่วยลดประมาณก๊าซเรือนกระจกภายในซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ และการบรรลุเป้าหมาย Ambition Zero Carbon ต่างๆ

เกี่ยวกับ Sustainable Markets Initiative (SMI) Health System Taskforce

ความมุ่งมั่นของแอสตร้าเซนเนก้าต่อการร่วมมือกับระบบบริการสุขภาพและพันธมิตรต่างๆ เพื่อสร้างให้เกิดการดูแลสุขภาพที่มีความยั่งยืน นั้นเป็นที่ประจักษ์ ณ งานเปิดตัว SMI Health System Taskforce หรือคณะทำงานของโครงการริเริ่มด้านความยั่งยืนของระบบบริการสุขภาพในกลุ่มประเทศต่างๆ ณ การประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) ซึ่งเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ ได้เสด็จเข้าร่วมด้วย ทั้งนี้ คณะทำงานฯ นำโดย นายปาสกาล โซริออท ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของแอสตร้าเซนเนก้า ประกอบไปด้วยผู้นำในแวดวงสุขภาพของโลกทั้งจากภาคเอกชนและภาครัฐ โดยมีเป้าหมายที่จะขับเคลื่อนให้เกิดระบบบริการสุขภาพ ที่มีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพด้วยนวัตกรรมดิจิทัล โดยมีปริมาณการผลิตก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ตลอดทั้งเครือข่ายซัพพลายเชนและแนวทางการดูแลผู้ป่วย

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้าและการรักษาในกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกัน

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรอบการพัฒนาชีวเภสัชภัณฑ์ คือหนึ่งในกลุ่มโรคที่แอสตร้าเซนเนก้ามุ่งจะเป็นผู้นำในด้านการรักษาและเป็นหน่วยธุรกิจหลักที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตขององค์กร

แอสตร้าเซนเนก้าคือผู้นำด้านการรักษากลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจซึ่งมีประสบการณ์ยาวนานกว่า 50 ปี บริษัทฯมีเป้าหมายที่จะยกระดับการรักษาโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โดยเน้นการรักษาทางชีววิทยาในระยะเริ่มแรก การขจัดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหืดที่สามารถป้องกันได้ และการทำให้โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังพ้นจากการเป็นหนึ่งในสามสาเหตุหลักของการเสียชีวิต ทั้งนี้งานวิจัยด้านโรคระบบทางเดินหายใจในช่วงแรกเริ่มของแอสตร้าเซนเนก้ามุ่งให้ความสำคัญแก่วิทยาศาสตร์วิถีใหม่ ซึ่งครอบคลุมการวิจัยด้านกลไกของระบบภูมิคุ้มกัน กระบวนการซ่อมแซมปอดที่เสียหายและเซลล์ที่ผิดปกติจากโรค และความผิดปกติของระบบเส้นประสาท

จากแนวทางการรักษาและปัจจัยก่อโรคแฝงของกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกันที่มีความคล้ายคลึงกัน แอสตร้าเซนเนก้าจึงได้นำเอาหลักวิทยาศาสตร์ที่ใช้สำหรับการรักษากลุ่มโรคปอดเรื้อรัง มาปรับใช้กับกลุ่มโรคระบบภูมิคุ้มกัน โดยแนวทางการรักษากลุ่มโรคระบบภูมิคุ้มกันของแอสตร้าเซนเนก้าที่กำลังพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง มุ่งให้ความสำคัญแก่กลุ่มโรคระยะกลางถึงระยะสุดท้ายใน สาขาที่มีภาวะโรคแทรกซ้อน โดยครอบคลุมวิทยารูมาติก (Rheumatology ซึ่งรวมถึงความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือ SLE) โรคผิวหนัง (Dermatology), โรคระบบทางเดินอาหาร (Gastroenterology) และโรคที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบเซลล์เม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิล (Systemiceosinophilic-driven diseases) ทั้งนี้สำหรับกลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกัน แอสตร้าเซนเนก้ามีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุการปรับเปลี่ยนการดำเนินโรค (Disease modification) และช่วยให้ผู้ป่วยกว่าหลายล้านคนทั่วโลกมีภาวะปลอดโรคอย่างยั่งยืน

เกี่ยวกับ แอสตร้าเซนเนก้า

แอสตร้าเซนเนก้า (ชื่อย่อหลักทรัพย์ AZN ในตลาดหลักทรัพย์ LSE/ STO/ Nasdaq) เป็นบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก มุ่งเน้นทางด้านการคิดค้น พัฒนา และจำหน่ายยาเพื่อการรักษาโรค โดยเฉพาะในกลุ่มยาโรคมะเร็ง กลุ่มยาโรคหัวใจ ไต และระบบเผาผลาญ และกลุ่มยาโรคทางเดินหายใจ แอสตร้าเซนเนก้า มีฐานอยู่ที่เมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร และดำเนินธุรกิจในกว่า 100 ประเทศ และมีผู้ป่วยหลายล้านคนทั่วโลกที่ได้รับประโยชน์จากนวัตกรรมยาต่างๆ จากแอสตร้าเซนเนก้า สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาไปยังเว็บไซต์ astrazeneca.com และช่องทางทวิตเตอร์ @AstraZeneca

No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.