Header Ads

ยูนิเซฟชี้เด็กเล็ก 1 ใน 10 ในประเทศไทยกำลังเผชิญความยากจนทางอาหารเด็กขั้นรุนแรง

 เด็กชาติพันธุ์ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ยูนิเซฟชี้เด็กเล็ก ใน 10 ในประเทศไทยกำลังเผชิญความยากจนทางอาหารเด็กขั้นรุนแรง

เด็กชาติพันธุ์กำลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนในแม่ฮ่องสอน (UNICEF Thailand/2023/Arun Roisri)

กรุงเทพฯ/นิวยอร์ก, 6 มิถุนายน 2567 – รายงานฉบับใหม่ของยูนิเซฟเปิดเผยวันนี้ว่า เด็กอายุน้อยกว่า ปีในประเทศไทยจำนวน ใน 10 คนกำลังเผชิญภาวะความยากจนทางอาหารขั้นรุนแรง นั่นคือ เด็ก ๆ ได้รับประทานอาหารไม่เกิน หมู่ต่อวัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพและพัฒนาการโดยรวมในระยะยาว

 

รายงาน Child Food Poverty: Nutrition Deprivation in Early Childhood ถือเป็นรายงานแรกของยูนิเซฟที่ทำการวิเคราะห์ผลกระทบและสาเหตุการขาดแคลนอาหารของเด็กเล็กในเกือบ 100 ประเทศทั่วโลกและในทุกกลุ่มรายได้ โดยชี้ให้เห็นว่า นอกจากประเทศไทยแล้ว ทั่วโลกมีเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีราว 181 ล้านคน หรือ ใน 4 คน กำลังเผชิญความยากจนทางอาหารขั้นรุนแรง ซึ่งเป็นผลมาจากความเหลื่อมล้ำ การสู้รบ วิกฤตสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนราคาอาหารและค่าครองชีพที่สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดย เด็กที่เผชิญความยากจนทางอาหารขั้นรุนแรง หมายความว่า พวกเขารับประทานอาหารไม่เกิน หมู่ต่อวัน  ทั้ง ๆ ที่เด็กจำเป็นต้องรับประทานอาหารอย่างน้อย หมู่ต่อวัน

 

นางคยองซอน คิม ผู้อำนวยการ องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า เด็ก ๆ จำเป็นต้องรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน นั่นเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นสิ่งจำเป็นต่อการอยู่รอด การเจริญเติบโตและการพัฒนาตลอดช่วงชีวิตของพวกเขา การขาดโภชนาการที่ดีอาจส่งผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กอย่างไม่มีวันหวนกลับคืนมาได้”

 

รายงานระบุว่า ร้อยละ 65 ของเด็กที่เผชิญความยากจนทางอาหารขั้นรุนแรงอาศัยอยู่ใน 20 ประเทศ  โดย 64 ล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียใต้,  59 ล้านคนอยู่ในภูมิภาคแอฟริกาใต้ทะเลทรายซาฮารา และอีก 17 ล้านคนอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก  โดยเด็กส่วนใหญ่ (ใน คน) ได้รับประทานเพียงนมและอาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ข้าวโพด หรือ ข้าวสาลี  หรือเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่น้อยกว่าร้อยละ 10 ได้รับประทานผักและผลไม้ และน้อยกว่าร้อยละ รับประทานอาหารที่มีสารอาหารสูง เช่น ไข่ ปลา สัตว์ปีก หรือ เนื้อ

 

การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ.2565  โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติและยูนิเซฟ ก็ชี้ให้เห็นแนวโน้มที่น่ากังวลด้านโภชนาการเด็กเช่นกัน โดยพบว่ามีเด็กในประเทศไทยเพียงร้อยละ 29 เท่านั้นที่ได้กินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรก นอกจากนี้ ร้อยละ 13 ของเด็กอายุต่ำกว่า ปียังมีภาวะเตี้ยแคระแกร็น และร้อยละ มีภาวะผอมแห้ง เนื่องจากการขาดสารอาหารอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

 

ภาวะเตี้ยแคระแกร็นและผอมแห้งมักพบมากในเด็กในครอบครัวยากจน, เด็กในครอบครัวที่ไม่พูดภาษาไทย และเด็กที่แม่มีการศึกษาน้อยหรือไม่มีเลย นอกจากนี้ยังพบว่า เด็กในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยเผชิญภาวะเตี้ยแคระเกร็นสูงสุด คืออยู่ที่ร้อยละ 20

 

ขณะเดียวกัน ภาวะอ้วนในเด็กอายุน้อยกว่า ปีของประเทศไทยก็เพิ่มสูงขึ้น โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ ในปี 2562 เป็นร้อยละ 11 ในปี 2565 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและไขมันสูง

 

รายงานของยูนิเซฟระบุว่า ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดวิกฤตความยากจนทางอาหารของเด็กมีหลายประการ อาทิ ระบบอาหารที่ล้มเหลว ซึ่งทำให้เด็ก ๆ เข้าไม่ถึงอาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัย หรือการที่ครอบครัวไม่มีกำลังซื้ออาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ตลอดจนขาดความรู้และทักษะในการส่งเสริมโภชนาการที่ดีให้กับลูก ๆ

 

ทุกวันนี้ การตลาดเชิงรุกที่มุ่งเป้าไปยังพ่อแม่ผู้ปกครองกำลังทำให้เด็ก ๆ ต่างบริโภคอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งมีสารอาหารต่ำ ราคาถูก และไม่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งได้กลายเป็นความปกติใหม่ในปัจจุบัน ผลการศึกษาของยูนิเซฟเมื่อเร็วๆ นี้  พบว่า อาหารสำเร็จรูปที่มุ่งทำการตลาดกับเด็กเล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย มีปริมาณน้ำตาลและเกลือสูง อีกทั้งยังติดฉลากที่อาจจะสร้างความเข้าใจผิดว่าเหมาะสมสำหรับเด็ก ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นกำลังแทนที่อาหารที่มีประโยชน์ของเด็ก ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็กที่กำลังเผชิญกับความยากจนทางอาหาร

 

เพื่อยุติความยากจนด้านอาหารเด็ก ยูนิเซฟเรียกร้องให้รัฐบาล องค์กรเพื่อการพัฒนาและมนุษยธรรม ผู้บริจาค ภาคประชาสังคม และภาคอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ร่วมมือดำเนินการอย่างเร่งด่วนดังนี้

 

  • ปฏิรูประบบอาหารเพื่อให้อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ความหลากหลาย และสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นตัวเลือกที่เข้าถึงได้ ราคาไม่แพง และเป็นที่ต้องการมากที่สุดสำหรับครอบครัวและผู้ดูแลเด็ก
  • จัดให้มีบริการด้านโภชนาการโดยเชื่อมโยงกับระบบสาธารณสุข เพื่อป้องกันและรักษาเด็กที่ขาดสารอาหารตลอดจนให้ความรู้ผู้ปกครองในการส่งเสริมโภชนาการของเด็ก ๆ
  • พัฒนาระบบคุ้มครองทางสังคมผ่านการให้เงินอุดหนุน อาหาร หรือบัตรเงินสด หรือวิธีอื่น ๆ ที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ครอบครัวที่มีรายได้น้อยสามารถจัดหาอาหารที่มีประโยชน์ให้กับลูก ๆ ได้

####

ดาวน์โหลด ภาพ และ ดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ)
คำนิยาม/การจำแนกความยากจนทางอาหารของเด็ก

ความยากจนทางอาหารขั้นรุนแรง หมายถึง เด็กรับประทานอาหารเพียง 0-2 หมู่ต่อวัน

ความยากจนทางอาหารขั้นปานกลาง หมายถึง เด็กรับประทานอาหารเพียง 3-4 หมู่ต่อวัน

หากเด็กรับประทานอาหารอย่างน้อย หมู่ต่อวัน จะไม่จัดอยู่ในความยากจนทางอาหาร 

เครดิตภาพ

Child nutrition photo 01-02 เด็กเด็กชาติพันธุ์กำลังรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนในแม่ฮ่องสอน (UNICEF Thailand/2023/Arun Roisri)

Child nutrition photo 03: แม่กำลังเลือกซื้ออาหารเสริมสำหรับลูกในซุปเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งของประเทศไทย (UNICEF 2022/Porawat Lerstluechachai)

 

No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.