“ทรินา โซลาร์” เดินหน้าพัฒนาตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ รับคาดการณ์ผลิตภัณฑ์โมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ ครองส่วนแบ่งตลาดราว 80% ในปีนี้
“ทรินา โซลาร์” เดินหน้าพัฒนาตลาดพลั
รับคาดการณ์ผลิตภัณฑ์โมดูลเซลล์
ครองส่วนแบ่งตลาดราว 80% ในปีนี้
โมดูลเซลล์แสงอาทิตย์กำลังสูงพิเศษได้กลายเป็นตัวเลือกหลักในตลาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเห็นได้ชัดในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา รายงานตลาดเทคโนโลยีใหม่ (New Technology Market Report) ซึ่งเผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์โดยพีวี อินโฟลิงก์ (PV InfoLink) ในเครือบริษัทผู้ให้บริการข้อมูลวิเคราะห์อิสระอย่างอินโฟลิงก์ (InfoLink) ได้ให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับขนาด การพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์และโมดูล ตลอดจนแนวโน้มในอนาคตที่คาดการณ์ไว้ การเปลี่ยนไปใช้โมดูลขนาดใหญ่กลายเป็นที่นิยม เมื่อประเมินในแง่ของการสนับสนุนห่วงโซ่อุตสาหกรรม การลดต้นทุน กำลังการผลิต และส่วนแบ่งการตลาด
แผ่นเวเฟอร์ขนาดใหญ่มีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% โดยแผ่นเวเฟอร์ขนาด 210 มม. ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
รายงานของพีวี อินโฟลิงก์ ระบุว่า เมื่อตรวจสอบกำลังการผลิตของแผ่นเวเฟอร์ขนาดใหญ่จากผู้ผลิตแผ่นเวเฟอร์ชั้นนำแล้ว พบว่าผู้ผลิตแผ่นเวเฟอร์ได้เริ่มเพิ่มอัตราส่วนการผลิตแผ่นเวเฟอร์ขนาดใหญ่โดยพิจารณาถึงความได้เปรียบด้านต้นทุนในแต่ละลิงก์ ขณะที่ความต้องการและการผลิตโดยรวมของแผ่นเวเฟอร์และเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 158.75 มม. (G1) ลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ไตรมาสที่สามของปี 2564 หลังโครงการก่อนหน้าเสร็จสิ้นลง นอกจากนี้ แผ่นเวเฟอร์ขนาด 166 มม. (M6) และขนาดที่เล็กกว่าอื่น ๆ ยังได้รับผลกระทบจากความนิยมในแผ่นเวเฟอร์ขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดลดลงอย่างมาก
รายงานยังระบุด้วยว่า ด้วยความนิยมหันไปใช้แผ่นเวเฟอร์ขนาดใหญ่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา แผ่นเวเฟอร์ขนาดใหญ่จึงมีส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 50% ในไตรมาสที่สามและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ คาดว่าส่วนแบ่งตลาดของแผ่นเวเฟอร์ขนาดใหญ่ (182 มม. และ 210 มม.) จะแตะที่ 79% ในปีนี้ ขณะที่ตลาดมีแนวโน้มหันมาใช้แผ่นเวเฟอร์ขนาด 210 มม. มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งให้ผลมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตแผ่นเวเฟอร์ชั้นนำอย่าง จงฮวน เซมิคอนดักเตอร์ (Zhonghuan Semiconductor) ที่มีสัดส่วนการผลิตแผ่นเวเฟอร์ 210 มม. เพิ่มขึ้นจาก 43% ในไตรมาสแรกของปีที่แล้วเป็น 72% ในไตรมาสที่สี่
นับจนถึงสิ้นปีที่ผ่านมา สายการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดสูงสุดที่ 182 มม. และ 210 มม. มีกำลังการผลิตรวมถึง 266 กิกะวัตต์ ในขณะที่โมดูลขนาดใหญ่มีกำลังการผลิตถึง 292 กิกะวัตต์ และการที่อุปกรณ์ทำงานร่วมกันได้นั้นทำให้กำลังการผลิตโมดูลขนาด 210 มม. สูงถึง 170 กิกะวัตต์ ซึ่งสูงกว่าโมดูลขนาด 182 มม. โดยจากรายงานพบว่า กำลังการผลิตเซลล์แสงอาทิตย์และโมดูลขนาดใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปีภายในปี 2568 ขณะที่ทรินา โซลาร์มีกำลังการผลิตโมดูลขนาด 210 มม. ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้ผลิตโมดูลจำนวนหนึ่งมีแนวโน้มจะขยายกำลังการผลิตของตนในหลายพื้นที่ทั่วโลก อันเป็นผลมาจากนโยบายภายนอกที่เอื้ออำนวยและการพัฒนาของตลาด
รายงานก่อนหน้านี้ของพีวี อินโฟลิงก์ ระบุว่า นับจนถึงปลายปีที่ผ่านมา มีผู้ผลิตโมดูลมากกว่า 50 รายที่มีกำลังการผลิตโมดูลขนาดใหญ่กำลังสูง โดยในจำนวนนี้กว่า 30 รายประสบความสำเร็จในการผลิตโมดูลจำนวนมาก ซึ่งมีรูปแบบเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ถึง 210 มม. และมีสัดส่วนการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่กำลังการผลิตแผ่นเวเฟอร์ใหม่ส่วนใหญ่นั้นเป็นแผ่นใหญ่เช่นกัน โดยเพิ่มขึ้นทุกปีเพื่อให้มีซัพพลายเพียงพอ
ในแง่ของความได้เปรียบด้านต้นทุน เซลล์พีอีอาร์ซี (PERC) ขนาด 166 มม. มีต้นทุนไม่รวมซิลิคอนอยู่ที่ 0.2-0.23 หยวนต่อวัตต์ ในขณะที่เซลล์ขนาดใหญ่อยู่ที่ 0.17-0.21 หยวนต่อวัตต์ โดยเมื่อเทคโนโลยีพีอีอาร์ซีก้าวหน้าเต็มที่แล้ว การนำเซลล์ขนาดใหญ่มาใช้และการปรับปรุงประสิทธิภาพและผลผลิตของเซลล์ขนาดใหญ่ได้กลายเป็นปัจจัยหลักในการลดต้นทุนสำหรับเซลล์พีอีอาร์ซีขนาดใหญ่ รายงานดังกล่าวพบว่าต้นทุนที่ลดลงจากการใช้งานเซลล์ขนาดใหญ่ทำให้ความจุของเซลล์พีอีอาร์ซีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในปีที่ผ่านมา กำลังการผลิตใหม่ของเซลล์พีอีอาร์ซีขนาดใหญ่นั้นมากกว่า 170 กิกะวัตต์ ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดของเซลล์โพลีคริสตัลไลน์และเซลล์ชนิด n ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
ด้านทรินา โซลาร์ระบุว่า “การศึกษาก่อนหน้านี้โดยเฟราน์โฮเฟอร์ ไอเอสอี (Fraunhofer ISE) ในเยอรมนีระบุว่า เมื่อดูจากโมดูลกำลังสูงพิเศษที่ใช้เทคโนโลยีพีอีอาร์ซีแล้ว ค่าระบบของโมดูลแบบหน้าเดียวและสองหน้ารุ่น G12 210mm Vertex 670W นั้นสูงกว่าโมดูล M10 540W และ M10 585W อย่างมีนัยสำคัญ และมีต้นทุนต่อหน่วยการผลิตลดลงมากถึง 7.4%”
ด้วยความน่าเชื่อถือและความได้เปรียบด้านมูลค่าที่เหนือกว่า โมดูลขนาดใหญ่กำลังเข้ามายกระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ทั้งหมด ลดต้นทุนต่อหน่วยการผลิต ขับเคลื่อนและยกระดับอุตสาหกรรมโดยรวมทั่วโลก
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1762952/image_805511_15294637.jpg
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/1762953/image_805511_15294684.jp
No comments