สหรัฐอเมริกา คว้าแชมป์ "เวิลด์ อเมเจอร์ ทีม แชมเปียนชิพ" ไทย จบ 31 ร่วม
สหรัฐอเมริกา คว้าแชมป์ “เวิลด์ อเมเจอร์ ทีม แชมเปียนชิพ” ไทย จบ 31 ร่วม
ทีมกอล์ฟสหรัฐอเมริกาผงาดคว้าแชมป์เวิลด์ อเมเจอร์ ทีม แชมเปียนชิพ คว้าถ้วยไอเซนฮาวเออร์ โทรฟี ที่อาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) หลังเอาชนะ นอร์เวย์ และ ออสเตรเลีย อันดับสองร่วมห่าง 11 สโตรก เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม 2566 นับเป็นแชมป์ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2004 และเป็นสมัยที่ 16 ในประวัติศาสตร์รายการนี้ ขณะทีมไทย ซึ่งประกอบด้วย อชิตะ เปี่ยมกุลวนิช, ปรินทร์ สารสมุทร และ ศิรเดช จันทร์หา จบอันดับ 31 ร่วม
การแข่งขันรายการกอล์ฟสมัครเล่นเวิลด์ เมเจอร์ ทีม แชมเปียนชิพ ทีมชายรายการไอเซนฮาวเออร์ โทรฟี ที่อาบู ดาบี กอล์ฟ คลับ (เนชันแนล คอร์ส) พาร์ 72 ในอาบู ดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี) ระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม 2566 แข่งขันแบบสโตรกเพลย์ 72 หลุม แต่ละทีมส่งนักกอล์ฟได้ 2 หรือ 3 คน เนื่องจากนับสกอร์ของ 2 นักกอล์ฟที่สกอร์ดีที่สุด
วันสุดท้ายของการแข่งขันเมื่อวันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำยังคงผลงานดีโดย เดวิด ฟอร์ด มือ 5 ของโลกกอล์ฟสมัครเล่นทำสกอร์ 8 อันเดอร์พาร์ 64 นับเป็นสกอร์ต่ำที่สุดอันดับสองในประวัติศาสตร์รายการนี้ และ นิค ดันแลป แชมป์ยูเอส อเมเจอร์ แชมเปียนชิพ ปี 2023 ทำ 4 อันเดอร์พาร์ 68 เป็นสกอร์ดีที่สุดของทีมเป็น 12 อันเดอร์พาร์ 132 เท่ากับสถิติสกอร์ต่ำที่สุดอันดับสองในรอบสุดท้ายร่วมกับสิงคโปร์ ในประวัติศาสตร์รายการนี้ (ตั้งแต่นับสกอร์ 2 คนในทีมเริ่มเมื่อปี 2002) ส่วน กอร์ดอน ซาร์เจนท์ ดาวเด่นของทีมอีกคนทำ 1 อันเดอร์พาร์ 71 ส่งผลให้ สหรัฐอเมริกา คว้าแชมป์ด้วยสกอร์รวม 36 อันเดอร์พาร์ 540 ชนะ นอร์เวย์ และ ออสเตรเลีย อันดับสองร่วม 11 สโตรกนับเป็นสกอร์ชนะห่างที่สุดตั้งแต่ ออสเตรเลียชนะห่าง 19 สโตรกเมื่อปี 2016
สหรัฐอเมริกาเล่นรายการนี้มา 33 ครั้ง คว้าแชมป์ 16 ครั้ง เหรียญเงิน 9 ครั้ง และ เหรียญทองแดง 3 ครั้ง โดยสหรัฐเป็น 1 ใน 7 ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันมาทุกครั้งใน 33 ครั้งของรายการนี้นับตั้งแต่ปี 1958 เป็นต้นมา
การแข่งขันรายการกอล์ฟสมัครเล่นเวิลด์ เมเจอร์ ทีม แชมเปียนชิพ ทีมชายรายการไอเซนฮาวเออร์ โทรฟี ที่อาบู ดาบี กอล์ฟ คลับ (เนชันแนล คอร์ส) พาร์ 72 ในอาบู ดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี) ระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม 2566 แข่งขันแบบสโตรกเพลย์ 72 หลุม แต่ละทีมส่งนักกอล์ฟได้ 2 หรือ 3 คน เนื่องจากนับสกอร์ของ 2 นักกอล์ฟที่สกอร์ดีที่สุด
วันสุดท้ายของการแข่งขันเมื่อวันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม สหรัฐอเมริกาในฐานะผู้นำยังคงผลงานดีโดย เดวิด ฟอร์ด มือ 5 ของโลกกอล์ฟสมัครเล่นทำสกอร์ 8 อันเดอร์พาร์ 64 นับเป็นสกอร์ต่ำที่สุดอันดับสองในประวัติศาสตร์รายการนี้ และ นิค ดันแลป แชมป์ยูเอส อเมเจอร์ แชมเปียนชิพ ปี 2023 ทำ 4 อันเดอร์พาร์ 68 เป็นสกอร์ดีที่สุดของทีมเป็น 12 อันเดอร์พาร์ 132 เท่ากับสถิติสกอร์ต่ำที่สุดอันดับสองในรอบสุดท้ายร่วมกับสิงคโปร์ ในประวัติศาสตร์รายการนี้ (ตั้งแต่นับสกอร์ 2 คนในทีมเริ่มเมื่อปี 2002) ส่วน กอร์ดอน ซาร์เจนท์ ดาวเด่นของทีมอีกคนทำ 1 อันเดอร์พาร์ 71 ส่งผลให้ สหรัฐอเมริกา คว้าแชมป์ด้วยสกอร์รวม 36 อันเดอร์พาร์ 540 ชนะ นอร์เวย์ และ ออสเตรเลีย อันดับสองร่วม 11 สโตรกนับเป็นสกอร์ชนะห่างที่สุดตั้งแต่ ออสเตรเลียชนะห่าง 19 สโตรกเมื่อปี 2016
สหรัฐอเมริกาเล่นรายการนี้มา 33 ครั้ง คว้าแชมป์ 16 ครั้ง เหรียญเงิน 9 ครั้ง และ เหรียญทองแดง 3 ครั้ง โดยสหรัฐเป็น 1 ใน 7 ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันมาทุกครั้งใน 33 ครั้งของรายการนี้นับตั้งแต่ปี 1958 เป็นต้นมา
นอร์เวย์ และออสเตรเลียสกอร์รวม 25 อันเดอร์พาร์ 551 โดยที่นอร์เวย์ คว้าเหรียญรางวัลครั้งแรกในประวัติศาสตร์รายการนี้ซึ่งเล่นมา 26 ครั้งสถิติดีที่สุดก่อนหน้านี้จบอันดับ 4 เมื่อปี 2022
ฝรั่งเศส จบอันดับ 4 สกอร์รวม 24 อันเดอร์พาร์ 552 ขณะที่อิตาลีแชมป์ปี 2022 จบอันดับ 5 ร่วมกับ นิวซีแลนด์ ด้วยสกอร์รวม 23 อันเดอร์พาร์ 553
ขณะที่ทีมไทย จบอันดับ 31 ร่วมสกอร์ 3 อันเดอร์พาร์ 573 (149-145-141-138) โดยมี "หิน" อชิตะ เปี่ยมกุลวนิช (74-70-70-66) ปรินทร์ สารสมุทร (75-75-71-72) และ ศิรเดช จันทร์หา (75-77-73-77)
สำหรับการแข่งขันเวิลด์ อเมเจอร์ ทีม แชมเปียนชิพ, ไอเซนฮาวเออร์ โทรฟี ครั้งต่อไปจะมีขึ้นที่เทนาห์ เมราห์ คันทรี คลับ ประเทศสิงคโปร์ ในปี 2025
ข้ออมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.usga.org
เกี่ยวกับสมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริกา(ยูเอสจีเอ)
สมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริกา(ยูเอจีเอ) ดำเนินการจัดการแข่งขันกอล์ฟรายการยูเอส โอเพ่น (เมเจอร์ชาย) ยูเอส วีเมนส์ โอเพ่น (เมเจอร์หญิง) ยูเอส ซีเนียร์ โอเพ่น (เมเจอร์ซีเนียร์ชาย) และ ยูเอส ซีเนียร์ วีเมนส์ โอเพ่น (เมเจอร์ซีเนียร์หญิง) แล้วยังมีรายการชิงแชมป์สมัครเล่น และ แม็ตช์ระดับนานาชาติอีก 10 รายการทำให้นักกอล์ฟ และแฟนจากทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
ยูเอสจีเอร่วมกับเดอะ รอยัล แอนด์ แอนเชียนท์ หรืออาร์แอนด์เอ เป็นองค์กรผู้ดูแลเกมกอล์ฟทั่วโลกร่วมกันตั้งกฏกอล์ฟ และ กฎข้อบังคับสถานะนักกอล์ฟสมัครเล่น มาตรฐานอุปกรณ์ที่ใช้แข่งขัน และ อันดับคะแนนสะสมโลกของนักกอล์ฟสมัครเล่นพร้อมกับมีอำนาจการทำงานในสหรัฐอเมริกา ดินแดนในความปกครอง และ เม็กซิโก
ยูเอสจีเอ เป็นหนึ่งในองค์กรที่มีการวิจัย พัฒนา และ สนับสนุนการจัดการสนามกอล์ฟอย่างยั่งยืนมากที่สุด ทำหน้าที่ผู้ดูแลเบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เกมกอล์ฟ และ การพัฒนาด้านการลงทุนเกมกอล์ฟผ่านการบริหาร และทำงานของมูลนิธิสมาคมกอล์ฟสหรัฐอเมริการวมทั้งการจัดเรตติ้งสนามกอล์ฟ และระบบการจัดแฮนดิแคปที่ใช้กันใน 6 ทวีป
No comments