Header Ads

มูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก จัดกิจกรรมงานวันโรคหายากประเทศไทย ปีที่ 14 Rare Disease Day Thailand 2024

 Screenshot_20240223-003014~2


มูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก จัดกิจกรรมงานวันโรคหายากประเทศไทย ปีที่ 14 Rare Disease Day Thailand 2024 เพื่อรณรงค์ให้เกิดการดูแลรักษาและช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหายากอย่างต่อเนื่อง 

โรคหายากส่วนใหญ่มีความรุนแรง หายารักษายาก และมีประมาณ 6,000-8,000 โรค คาดการณ์ว่า 5% ของประชากรป่วยด้วยโรคหายากโรคใดโรคหนึ่ง โดยส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากทางพันธุกรรม พบว่าร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการตั้งแต่วัยเด็ก อาการมีหลากหลายแล้วแต่ชนิดของโรค นอกจากประโยชน์เพื่อการรักษาผู้ป่วยแล้ว ยังช่วยในการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยง/ครอบครัวเสี่ยง

ตัวอย่างโรคหายาก เช่น โรคพันธุกรรมเมแทบอลิก หรือที่มักได้ยินกว่า 24 โรคหายาก (ทารกซึม ไม่ดูดนม โคม่า น้ำตาลในเลือดต่ำ ตับโต มีกรดในเลือด) ซึ่งได้รับการครอบคลุมสิทธิการรักษาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2563 และต่อมาได้เริ่มการตรวจกรองทารกแรกเกิดแบบขยายจำนวนโรค ซึ่งทำให้วินิจฉัยโรคพันธุกรรมเมแทบอลิกกว่า 40 โรค ก่อนแสดงอาการรุนแรง สิทธิ์นี้เป็นของเด็กสัญชาติไทยทุกคน ตั้งแต่ปี พศ. 2565

โรคกลุ่มแอลเอสดี ตัวอย่างโรคในกลุ่มนี้ ได้แก่ เช่น โรคโกเชร์ ซึ่งมียารักษาที่ได้ผลดีและอยู่ในสิทธิการรักษาแล้ว แต่ยังมีอีกหลายโรคที่ยังเข้าไม่ถึงสิทธิการรักษา เช่น โรคเอมพีเอส โรคพอมเพ โรคเลือดออกหยุดยากฮีโมฟิเลีย เป็นโรคแรกๆ ที่ได้รับสิทธิการรักษาด้วยยาแฟกเตอร์ และเป็นตัวอย่างที่สำคัญที่การเข้าถึงการรักษาเปลี่ยนคนป่วยให้เป็นคนคุณภาพของสังคมไทย

โรคหายากอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีวิธีการรักษาด้วยยาหรือวิธีอื่นๆ ที่ได้ผลดีมาก หรือชลอความรุนแรงของโรคลงได้มากน้อยต่างกันไป แต่ต้องวินิจฉัยและรักษาให้เร็ว เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอสเอ็มเอ (SMA) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงดูเชน (DMD) โรคกระดูกอ่อนจากภาวะฟอสเฟตต่ำ (XLH) โรคท้าวแสนปม (NF1) โรคเอเอดีซี (AADC) โรคเฮชเออี (HAE) โรคปอดไอแอลดี (ILD)
 
Screenshot_20240223-003011~2

บางโรครักษาตามอาการ แต่การวินิจฉัยได้เร็วและถูกต้อง สามารถป้องกันการเสียชีวิตและทุพพลภาพรุนแรงได้ เช่น โรคมาแฟน โรคสมองน้อยเสื่อมจากพันธุกรรมหรือโรคเดินเซ โรคตุ่มน้ำพองใสรุนแรงในทารก (EB) โรคแองเจลแมน โรคโครโมโซมผิดปกติบางแบบ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีโรคหายากอีกจำนวนมาก ที่จำเป็นต้องใช้วิธีการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีหรือเทคนิคใหม่ๆ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ หากวินิจฉัยไม่ได้ ก็ขาดโอกาสในการรักษา

ในโอกาสวันโรคหายากสากล (วันสุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี) มูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก กลุ่มผู้ป่วยโรคหายากต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญและศูนย์โรคหายาก สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงสาธารณสุข และบัญชียาหลักแห่งชาติ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมงานวันโรคหายากประเทศไทย ปีที่ 14 ในวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2567 เวลา 08.30-16.00 น. ณ โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซส กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วย และเปิดโอกาสให้มีการสื่อสารโดยตรงระหว่างภาครัฐกับกลุ่มผู้ป่วยและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อีกทั้งเพื่อติดตามความก้าวหน้านโยบายและการพัฒนาระบบการดูแลรักษาโรคหายาก โดยในช่วงเช้า ได้รับเกียรติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หรือตัวแทน เปิดงาน และกล่าวถึง

- นโยบายโรคหายาก กระทรวงสาธารรสุข

- นโยบายโรคหายาก สปสช. และแนวโน้มในอนาคต

- การพัฒนากลุ่มผู้ป่วย: ความก้าวหน้าสืบเนื่องจากวัน “โรคหายาก” ปี 2023

- Rare Disease Patient Champion ผู้ป่วยโรคหายาก สร้างแรงบันดาลใจ

- เสวนา” ความก้าวหน้าและทิศทางการทำงานของคณะทำงานร่วมโรคหายาก สปสช. และบัญชียาหลัก”

- บทบาทของ HITAP และหลักเกณฑ์พิจารณาเกี่ยวกับโรคหายาก

สำหรับหัวข้อในช่วงบ่าย มีดังนี้

- การช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงการวินิจฉัย รักษา และการป้องกันโรคหายาก

- สิทธิประโยชน์ที่มีอยู่แล้ว

- สิทธิประโยชน์ที่กำลังผลักดันและควรผลักดันต่อไปในอนาคต

- ช่องทางเข้าถึงการวินิจฉัยและการักษา นอกเหนือจากสิทธิการรักษาปกติ (Alternative pathway)

- เทคนิคใหม่เพื่อตรวจหาสาเหตุของโรคที่เดิมวินิจฉัยไม่ได้ 

No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.