Header Ads

ตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล เพื่อสร้างพื้นฐานของสุขภาพที่แข็งแรง

 

ทำไมการตรวจสุขภาพโรงพยาบาลจึงมีความสำคัญ? ในเมื่อมีคลินิกใกล้บ้านที่สามารถให้การรักษาได้อยู่แล้ว…

หลาย ๆ คนคงมีคำถามนี้ติดอยู่ในใจ แต่ช้าก่อน เราเชื่อว่าการเข้าถึงคลินิกที่ใกล้ตัวย่อมช่วยในเรื่องของการรักษาอาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ เพื่อให้การดำเนินชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างปกติ อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าหลายคนต้องเคยเจอหมอในคลินิกบอกว่า หากกินยาแล้วยังไม่หายภายในเท่านี้ ๆ วันให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล หรือผลตรวจแล็บของคลินิกอาจใช้เวลาหลายสัปดาห์ หากต้องการเร็วกว่านี้ให้ไปตรวจที่โรงพยาบาล 

นั่นเป็นเพราะหากต้องการตรวจรักษาที่ต้องลงลึกยิ่งขึ้น หรือต้องใช้ยาที่เฉพาะด้านมากขึ้น ให้ผลลัพธ์การตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วมากยิ่งขึ้น การตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลคือเรื่องที่จำเป็นอยู่ดี เมื่อประกอบกับไลฟ์สไตล์ชีวิตที่เร่งรีบ หลายคนละเลยสุขภาพของตัวเอง เมื่อได้รับการรักษาหายจากคลินิก แต่ยังคงไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต รอยโรคต่าง ๆ ที่เคยสงบอาจกำลังก่อตัวขึ้นอย่างเงียบ ๆ และรอวันที่จะปะทุ กลายเป็นโรคร้ายแรงหรือระยะที่ลุกลามจนรักษายากไปเสียแล้ว 

ดังนั้น การตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเป็นประจำทุกปี หรือตามนัดของแพทย์จึงเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณรู้เท่าทันสุขภาพและอาการป่วยของตัวเองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ นั่นเอง


การตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล คือการสร้างพื้นฐานของสุขภาพที่แข็งแรง

การตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลช่วยให้เราทราบถึงสภาพร่างกายโดยรวม ค้นหาและติดตามความเสี่ยงต่อสุขภาพในทุกช่วงอายุที่สำคัญตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อสามารถวางแผนป้องกันโรคร้ายหรือรักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งอาจสรุปข้อดีของการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลได้ดังนี้


ค้นหาความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ : โดยแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อค้นหาความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ค้นพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น : การตรวจสุขภาพช่วยให้เราค้นพบโรคก่อนแสดงอาการ ช่วยให้รักษาได้ง่ายและมีประสิทธิภาพ โดยหลายโรคในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการ การตรวจสุขภาพช่วยให้พบโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาด

ป้องกันโรคร้ายแรงด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัย : การตรวจสุขภาพช่วยประเมินความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เบาหวาน ฯลฯ ด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยต่าง ๆ 

ได้รับยาที่มีประสิทธิภาพ : บางโรคจำเป็นต้องใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งหาซื้อไม่ได้ตามร้านยาทั่วไป โดยแพทย์สามารถสั่งยาให้ได้

ได้รับคำแนะนำในการวางแผนดูแลสุขภาพ : ข้อมูลจากการตรวจสุขภาพ แพทย์จะให้คำแนะนำในการดูแลรักษาสุขภาพ เช่น การปรับพฤติกรรม การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การออกกำลังกาย การเลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น

ติดตามผลการรักษา : การตรวจสุขภาพช่วยติดตามผลการรักษาโรคเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

ประหยัดค่าใช้จ่าย : การรักษาโรคในระยะลุกลามมักมีค่าใช้จ่ายสูง การตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลช่วยให้พบโรคได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการรักษาที่อาจยืดเยื้อในระยะยาว


ช่วงอายุใด ควรเน้นการตรวจสุขภาพเรื่องใดบ้าง 

นอกจากการตรวจร่างกายทั่วไปแล้ว แต่ละช่วงอายุควรเน้นการตรวจสุขภาพที่อาจเป็นความเสี่ยงและจุดก่อเกิดของโรคร้ายแรง ดังนี้ 

10-20 ปี: เน้นการตรวจวัดพัฒนาการ ตรวจหาภูมิคุ้มกัน โรคติดต่อ เช่น โรคหัด โรคคางทูม

20-30 ปี: เน้นการตรวจหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตรวจหาความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง

30-40 ปี: เน้นการตรวจหาความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคอ้วน โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง

40-50 ปี: เน้นการตรวจหาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ เบาหวาน ภาวะกระดูกพรุน

50-60 ปี: เน้นการตรวจหาโรคกระดูกพรุน ต้อกระจก ต้อหิน ภาวะอัลไซเมอร์

60 ปีขึ้นไป: เน้นการตรวจหาโรคอัลไซเมอร์ พาร์กินสัน ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า


จะเห็นได้ว่าการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่ารอให้เจ็บป่วยจนยากต่อการรักษา มาค้นพบสุขภาพที่ดีก่อนสายเกินไป ด้วยการตรวจรักษาและวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย จองคิวตรวจสุขภาพได้แล้ววันนี้


No comments

Theme images by sololos. Powered by Blogger.